ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๕. อเจลกวรรค ๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท นิทานวัตถุ

๕. อเจลกวรรค
๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท
ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยกกองทัพ ออกรบ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ก็ออกไปเพื่อชมกองทัพที่กำลังเคลื่อนขบวนออกรบ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงรับสั่งให้นิมนต์มา แล้วตรัสถามดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมกัน” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถวายพระพรว่า “พวกอาตมาต้องการจะมาเยี่ยมมหาบพิตร” พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ไม่มีประโยชน์ใดเลยที่ ท่านมาเยี่ยมโยมผู้ใฝ่ในการรบ พวกท่านควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคมิใช่หรือ” พวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสายศากย บุตรจึงมาดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบเล่า ไม่ใช่เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ ไม่ดี ที่พวกเรามาอยู่ในกองทัพก็เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดูบุตรภรรยา” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไป ดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปดูกองทัพที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๕. อเจลกวรรค ๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท พระบัญญัติ

เคลื่อนขบวนออกรบ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไปดู กองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๓๑๒] สมัยนั้น ลุงของภิกษุรูปหนึ่งป่วยอยู่ในกองทัพ เขาส่งข่าวไปถึงภิกษุ นั้นว่า “ลุงกำลังป่วยอยู่ในกองทัพ นิมนต์ท่านมา ลุงปรารถนาให้ท่านมาเยี่ยม” ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่ พึงไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ นี่ลุงของเราป่วยอยู่ในกองทัพ เราจะพึง ปฏิบัติอย่างไรดีเล่า ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง ทราบ
ทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อมีเหตุผลที่สมควร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อมีเหตุผลเช่น นั้น” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๕. อเจลกวรรค ๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท บทภาชนีย์

พระอนุบัญญัติ
[๓๑๓] อนึ่ง ภิกษุใดไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ นอกจากมีเหตุผล ที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๔] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า เคลื่อนขบวนออกรบ ได้แก่ กองทัพที่เคลื่อนออกจากหมู่บ้านแล้ว ตั้งค่ายพักแรมหรือเคลื่อนขบวนต่อไป ที่ชื่อว่า กองทัพ ได้แก่ กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า ช้าง ๑ เชือก มีทหารประจำอยู่ ๑๒ นาย ม้า ๑ ตัว มีทหารประจำอยู่ ๓ นาย รถ ๑ คัน มีทหารประจำอยู่ ๔ นาย พลเดินเท้ามีทหารแม่นธนู ๔ นาย ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่พยายามดูจนเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า นอกจากมีเหตุผลที่สมควร คือ ยกเว้นเมื่อมีเหตุผลที่สมควร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๑๕] กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่าเคลื่อนขบวนออกรบ ไป เพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๕. อเจลกวรรค ๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท อนาปัตติวาร

กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุไม่แน่ใจ ไปเพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่ สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ไป เพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุอยู่พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่พยายามดูจนเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่าเคลื่อนขบวนออกรบ ต้อง อาบัติทุกกฏ กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๓๑๖] ๑. ภิกษุยืนดูอยู่ในอาราม ๒. ภิกษุดูกองทัพที่ยกผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ภิกษุนอน ๓. ภิกษุเดินสวนทางไปเห็น ๔. ภิกษุดูเมื่อมีเหตุผลที่สมควร ๕. ภิกษุดูเมื่อคราวมีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
อุยยุตตเสนาสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๕๑-๔๕๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=84              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=11727&Z=11806                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=562              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=562&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9467              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=562&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9467                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc48/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :