ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยภิกษุณีโกรธเพราะถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๗๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้ คดีในอธิกรณ์หนึ่ง๑- โกรธ ไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง และพวกภิกษุณี ลำเอียงเพราะกลัว” บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน แม่เจ้าจัณฑกาลี เมื่อถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งแล้วโกรธ ไม่พอใจ กล่าว อย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวก ภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัวเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้ แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งโกรธ ไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง และพวกภิกษุณี ลำเอียงเพราะกลัว’ ดังนี้ จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีผู้จัณฑกาลี เมื่อถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งโกรธ ไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณี @เชิงอรรถ : @ “อธิกรณ์หนึ่ง” หมายถึงอธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอธิกรณ์ ๔ (วิ.อ. ๒/๗๑๕/๔๘๐, ดู อธิกรณ์ ๔ @ในสิกขาบทวิภังค์แห่งสิกขาบทนี้ และใน วิ.ป. ๘/๓๔๘/๓๒๓-๓๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๕๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์

ลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัวเล่า’ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๑๖] ก็ภิกษุณีใดถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่ง โกรธ ไม่พอใจ จึง กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว” ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ท่านเมื่อถูกตัดสิน ให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งโกรธ ไม่พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณี ลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะ หลง และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว’ แม่เจ้าเองก็ยังลำเอียงเพราะชอบบ้าง ลำเอียงเพราะชังบ้าง ลำเอียงเพราะหลงบ้าง ลำเอียงเพราะกลัวบ้าง” ภิกษุณี นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ภิกษุณี นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้า เธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้งสละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้า ไม่สละ แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่ายาวตติยกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๑๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๕๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ในอธิกรณ์หนึ่ง คือ ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่าง๑- คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ (๒) อนุวาทาธิกรณ์ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ (๔) กิจจาธิกรณ์ ที่ชื่อว่า ถูกตัดสินให้แพ้คดี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผู้แพ้คดี คำว่า โกรธไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว คำว่า ภิกษุณีนั้น คือ ภิกษุณีผู้กล่าวอย่างนั้น คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย คือ อันภิกษุณีเหล่าอื่น ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านถูกตัดสิน ให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณี ลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ และพวกภิกษุลำเอียงเพราะกลัว แม่เจ้าเองก็ยังลำเอียง เพราะชอบบ้าง ฯลฯ ลำเอียงเพราะกลัวบ้าง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงพามาท่ามกลางสงฆ์แล้วว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่าน เมื่อถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว’ ดังนี้ แม่เจ้าเองก็ยังลำเอียงเพราะชอบบ้าง ฯลฯ ลำเอียงเพราะกลัวบ้าง” พึงว่ากล่าว ตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็น การดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ @เชิงอรรถ : @ อธิกรณ์ ๔ อย่าง คือ @๑. วิวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การเถียงกันว่า นี้เป็นธรรมวินัย นี้ไม่ใช่ธรรมวินัยเป็นต้น @๒. อนุวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การโจทกันด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ @๓. อาปัตตาธิกรณ์ ได้แก่ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติและแก้ต่างให้พ้นอาบัติ @๔. กิจจาธิกรณ์ ได้แก่ กิจธุระของสงฆ์ เช่น อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม @ญัตติจตุตถกรรม มีการสวดปาติโมกข์เป็นต้น (ดู วิ.ป. ๘/๓๔๘/๒๒๒-๒๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์

วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๗๑๘] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ถูกตัดสินให้แพ้คดีใน อธิกรณ์หนึ่ง โกรธ ไม่พอใจ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว” เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกัน แล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ไม่พอใจ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ และ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว’ เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้ สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง ดิฉันกล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ดิฉันกล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป คำว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ ๓ ครั้ง ไม่ใช่ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[๗๑๙] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติ ทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๒๐] ๑. ภิกษุณียังไม่ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ ๒. ภิกษุณีผู้สละ ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๕๘-๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=1006&Z=1096                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=69              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=69&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11092              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=69&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11092                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.069 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss11/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss11/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :