ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ

๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการเลาะจีวรแล้วไม่เย็บ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๘๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งทำจีวรไม่ดี เย็บ ไม่ดีทั้งที่ใช้ผ้าสำหรับทำจีวรราคาแพง ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ ว่า “แม่เจ้า ผ้าสำหรับทำจีวรของท่านดีจริง แต่กลับทำจีวรไม่ดี เย็บไม่ดี” ภิกษุณีนั้นกล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันจะเลาะออก ท่านจะเย็บให้หรือ” ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันจะเย็บให้” ครั้นแล้ว ภิกษุณีนั้นจึงเลาะจีวรแล้วมอบให้ภิกษุณีถุลลนันทา ภิกษุณีถุลลนันทา กล่าวว่า “ดิฉันจะเย็บให้ ดิฉันจะเย็บให้” แต่ไม่เย็บให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ ภิกษุณีนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน แม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้ เย็บเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวร ของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลาย ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๘๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

ขวนขวายใช้ผู้อื่นเย็บเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๙๓] ก็ภิกษุณีใดเลาะหรือใช้ให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว ภายหลัง ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย๑- ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายใชผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน๒- ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๙๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้ มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง คำว่า ใช้ให้เลาะ คือ ใช้ผู้อื่นให้เลาะ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงไม่ตกอยู่ในอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ (๑) พระราชาเสด็จมา @(๒) โจรมาปล้น (๓) ไฟไหม้ (๔) น้ำหลากมา (๕) คนมามาก (๖) ผีเข้าภิกษุ (๗) สัตว์ร้ายเข้ามาในวัด @(๘) งูเลื้อยเข้ามา (๙) ภิกษุเป็นโรคร้าย (๑๐) เกิดอันตรายแก่พรมหจรรย์ เช่นมีคนมาจับภิกษุณีสึก @(วิ.อ. ๒/๘๙๓-๘๙๔/๕๐๐, ดู วิ.ม. ๔/๑๕๐/๑๕๙) @ “พ้น ๔-๕ วัน” หมายถึงล่วงเลย ๕ วัน นับจากวันที่เลาะจีวรนั้น (สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๘๙๓/๑๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๙๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

คำว่า ภายหลัง ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย คือ เมื่อไม่มีอันตราย คำว่า ไม่เย็บ คือ ไม่เย็บด้วยตนเอง คำว่า ไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ คือ ไม่สั่งผู้อื่น คำว่า พ้น ๔-๕ วัน คือ เก็บไว้ได้ ๔-๕ วัน พอทอดธุระว่า “เราจักไม่เย็บ จักไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๙๕] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวร ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวร ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มี อันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวร ภายหลัง ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีเลาะหรือใช้ให้เลาะบริขารอย่างอื่น ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีเลาะหรือใช้ให้เลาะจีวรหรือบริขารอย่างอื่นของอนุปสัมบัน ภายหลัง ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๙๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๙๖] ๑. ภิกษุณีไม่เย็บในเมื่อมีอันตราย ๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วไม่ได้ ๓. ภิกษุณีกำลังทำการเย็บ พ้น ๔-๕ วัน ๔. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุณีวิกลจริต ๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=51              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3241&Z=3300                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=227              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=227&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11469              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=227&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11469                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.227 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc23/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc23/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :