ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ

๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุณีสงฆ์ ลำดับนั้น ภิกษุณีสงฆ์ประสงค์จะแจกจีวรนั้น จึงประชุมกัน เวลานั้นพวกภิกษุณี อันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณี เหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายหลีกไปแล้ว อย่าเพิ่งแจกจีวรเลย” คัดค้านการแจกจีวร พวกภิกษุณีกล่าวว่า “อย่าเพิ่งแจกจีวรเลย” แล้วแยกย้ายกันไป เมื่อเหล่า ภิกษุณีอันเตวาสินีกลับมา ภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้แจกจีวรนั้น บรรดาภิกษุณีผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง คัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม๑- เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการ แจกจีวรที่ชอบธรรม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา @เชิงอรรถ : @ “การแจกจีวรที่ชอบธรรม” คือการแจกจีวรที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ประชุมกันแล้วดำเนินการร่วมกัน @(กงฺขา.อ. ๓๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ บทภาชนีย์

จึงคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๙๑๒] ก็ภิกษุณีใดคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๑๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ การแจกจีวรที่ชื่อว่า ชอบธรรม ได้แก่ ภิกษุณีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ประชุมกันแจก คำว่า คัดค้าน คือ คัดค้านว่า “จะแจกจีวรนี้อย่างไร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๙๑๔] การแจกชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ การแจกชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ การแจกชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติ การแจกชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร

การแจกไม่ชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ การแจกไม่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๑๕] ๑. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วคัดค้าน๑- ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ “แสดงอานิสงส์แล้วคัดค้าน” หมายถึงในกรณีที่จีวรมีไม่พอแบ่งกันให้ได้ครบทุกรูป จึงแสดงอานิสงส์ @คือให้เหตุผลว่า ผ้าสาฎกไม่เพียงพอยังขาดอยู่ผืนหนึ่ง โปรดรอสัก ๒-๓ วันเถิด เมื่อผ้าสาฎกมีพอที่จะ @แจกกันครบทุกรูปแล้วจึงแจกกัน (วิ.อ. ๒/๙๑๕/๕๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3432&Z=3472                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=242              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=242&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11501              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=242&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11501                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.242 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc27/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :