ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ
เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ ๓๐ รูป เข้าจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยทั้ง จีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ เรื่องอานิสงส์กฐิน ๕ อย่าง คือ ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ ๓. ฉันคณโภชนะได้ ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ ๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น เรื่องวิธีกรานกฐินและญัตติทุติยกรรมวาจาสำหรับกรานกฐิน เรื่องกฐินไม่เป็นอันกราน คือ ๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงมีรอยขีด ๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงซักผ้า ๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงกะผ้า ๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงตัดผ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ

๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเนาผ้า ๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเย็บผ้า ๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำลูกดุม ๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำรังดุม ๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาต ๑๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาตด้านหน้า ๑๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงดามผ้า ๑๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงย้อมผ้าเป็นสีหม่น ๑๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา ๑๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา ๑๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ยืมเขามา ๑๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน ๑๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ ๑๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้ายผ้าที่ไม่ทำพินทุ ๑๙. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากสังฆาฏิ ๒๐. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากอุตตราสงค์ ๒๑. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากอันตรวาสก ๒๒. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือ เกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้วทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น ๒๓. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากบุคคลกราน ๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าย่อมไม่เป็นอันกราน เรื่องกฐินเป็นอันกราน คือ ๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าใหม่ ๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเทียมใหม่ ๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเก่า ๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าบังสุกุล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ

๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ตกตามร้าน ๖. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา ๗. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา ๘. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา ๙. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน ๑๐. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่เป็นนิสสัคคีย์ ๑๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำพินทุ ๑๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยสังฆาฏิ ๑๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยอุตตราสงค์ ๑๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยอันตรวาสก ๑๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ที่ตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น ๑๖. กฐินเป็นอันกรานเพราะมีบุคคลกราน ๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น อย่างนี้ชื่อกฐินเป็นอันกราน เรื่องกฐินเดาะด้วยมาติกา ๘ ข้อ คือ ๑. กำหนดด้วยหลีกไป ๒. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๓. กำหนดด้วยตกลงใจ ๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย ๕. กำหนดด้วยได้ทราบข่าว ๖. กำหนดด้วยสิ้นหวัง ๗. กำหนดด้วยล่วงเขต ๘. กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน อาทายสัตตกะ ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการถือจีวรหลีกไป ๗ กรณี คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ

๑. ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป คิดว่าจะไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยการหลีกไป ๒. ถือจีวรหลีกไปอยู่นอกสีมา คิดว่าจะทำ ณ ที่นี้ จะไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๓. ถือจีวรหลีกไปอยู่นอกสีมา คิดว่าจะไม่ให้ทำ จะไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ ๔. ถือจีวรหลีกไปอยู่นอกสีมา คิดว่าจะให้ทำจีวร ณ ที่นี้ จะไม่กลับ กำลังทำจีวรเสียหาย การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย ๕. ถือจีวรไป คิดว่าจะกลับ ให้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำ จีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสนั้น กฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว ๖. ถือจีวรไป คิดว่าจะกลับ ให้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำ จีวรเสร็จแล้วโอ้เอ้อยู่นอกสีมาจนกฐินเดาะ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต ๗. ถือจีวรไป คิดว่าจะกลับ ให้ทำจีวร ณ ภายนอกสีมา ครั้นทำ จีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจะกลับ จะกลับ กลับทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อว่าพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย สมาทายสัตตกะ ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการนำ จีวรติดตัวหลีกไป ๗ กรณี อาทายฉักกะและสมาทายฉักกะ ว่าด้วยการ เดาะกฐินด้วยการถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ๖ กรณี และการเดาะกฐินด้วยการนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ๖ กรณี คือ ถือจีวรที่ทำค้างไว้อย่างละ ๖ กรณี ไม่มีการเดาะกำหนดด้วยหลีกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ

อาทายภาณวาร ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยกรณีถือจีวรหลีกไป ๑๕ กรณี เป็นต้น กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไปนอกสีมา คิดว่า จะให้ทำจีวร มี ๓ มาติกา คือ ๑. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ ๓. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กล่าวถึงภิกษุถือผ้า คิดว่า จะไม่กลับไปนอกสีมา แล้วคิดว่าจะทำ มี ๓ มาติกา คือ ๑. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ ๓. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กล่าวถึงภิกษุถือจีวรหลีกไป ด้วยไม่ได้ตั้งใจ ภายหลังคิดว่า จะไม่กลับ มี ๓ นัย กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไป คิดว่า จะกลับ อยู่นอกสีมา คิดว่า จะทำจีวร จะไม่กลับ ให้ทำจีวรเสร็จ การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้นชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ด้วยตกลงใจ ด้วยผ้าเสียหาย ด้วยได้ทราบข่าว ด้วยล่วงเขต ด้วยเดาะ พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย รวมเป็น ๑๕ ภิกษุนำจีวรหลีกไป และนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปอีก ๔ วาระก็เหมือนกัน รวมทั้งหมด ๑๕ วิธี หลีกไปด้วยสิ้นหวัง ด้วยหวังว่าจะได้ หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง ทั้ง ๓ อย่างนั้น นักปราชญ์พึงทราบโดยนัยอย่างละ ๑๒ วิธี ผาสุวิหารปัญจกะ ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะหวังอยู่ สบาย ๕ กรณี ปลิโพธาปลิโพธกถา ว่าด้วยปลิโพธและอปลิโพธ พระวินัยธรพึงแต่งหัวข้อตามเค้าความเทอญ
กฐินขันธกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=3214&Z=3257                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=127              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=127&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=127&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd7/en/horner-brahmali#BD.4.375



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :