ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๖. ตัสสปาปิยสิกา
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิด
เรื่องพระอุปวาฬะ
[๒๐๕] สมัยนั้น พระอุปวาฬะถูกซักถามอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ บรรดาภิกษุผู้มักนัอย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระอุปวาฬะถูกซักถามอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ จึงได้ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้เล่า” แล้วได้นำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุอุปวาฬะถูกซักถามอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรง แสดง ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลง ตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๒๐}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๖. ตัสสปาปิยสิกา

วิธีลงตัสสปาปิยสิกากรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมอย่างนี้ คือเบื้องต้นพึงโจทภิกษุ อุปวาฬะก่อน ครั้นแล้วพึงให้ภิกษุอุปวาฬะนั้นให้การแล้วพึงปรับอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๒๐๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬะนี้ถูกซักถามอาบัติ ในท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อน อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ อุปวาฬะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุปวาฬะนี้ถูกซักถามอาบัติในท่ามกลาง สงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬะแล้ว ท่านรูปใดเห็น ด้วยกับการลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอุปวาฬะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกากรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุอุปวาฬะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ตัสสปาปิยสิกากรรมที่ชอบธรรม ๕ อย่าง
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย การลงตัสสปาปิยสิกากรรมชอบธรรม ๕ อย่างนี้ คือ ๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่สะอาด ๒. เป็นอลัชชี ๓. เป็นผู้ถูกโจท ๔. สงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุนั้น ๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงโดยธรรม ภิกษุทั้งหลาย การลงตัสสปาปิยสิกากรรมชอบธรรม ๕ อย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=8431&Z=8471                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=614              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=614&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=614&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:11.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.11



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :