ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องไม้เท้า
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเอาบาตรใส่สาแหรก ใช้ไม้เท้าคอนเดินผ่านไปทางประตู เข้าหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลาวิกาล คนทั้งหลายบอกกันว่า “ดูนั่นโจรกำลังเดินไป ดาบ ส่องแสงวาววับ” แล้วพากันวิ่งไล่จับ จำได้จึงปล่อยไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงวัดจึงเล่า เรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านใช้ไม้เท้ากับสาแหรกหรือ” ภิกษุนั้นรับว่า “อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย” บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุจึงใช้ไม้เท้ากับสาแหรกเล่า” ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้เท้ากับสาแหรก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดไม้เท้า ท่านไม่สามารถจะเดินไปไหนได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้ทัณฑสมมติแก่ ภิกษุผู้เป็นไข้”
คำขอทัณฑสมมติ๑- และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ทัณฑสมมติอย่างนี้ ภิกษุไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง @เชิงอรรถ : @ ทัณฑสมมติ คือ สงฆ์ประกาศอนุญาตให้ใช้ไม้เท้าได้เป็นกรณีพิเศษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๕๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ขาดไม้เท้าแล้วไม่สามารถ จะเดินไปไหนได้ กระผมจึงขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าแล้วไม่สามารถ จะเดินไปไหนได้ ท่านขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้ทัณฑสมมติ แก่ภิกษุนั้น นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าแล้วไม่ สามารถ จะเดินไปไหนได้ ท่านขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสมมติ แก่ ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ทัณฑสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ [๒๗๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่สามารถนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ ภิกษุไข้”
คำขอสิกกาสมมติ๑- และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติอย่างนี้ ภิกษุเป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง @เชิงอรรถ : @ สิกกาสมมติ คือ สงฆ์ประกาศอนุญาตให้ใช้สาแหรกได้เป็นกรณีพิเศษ “สาแหรก” คือ ภาชนะที่ทำด้วย @หวายสำหรับหิ้วหรือหาบ ส่วนบนทำเป็นหูหิ้ว ส่วนล่างใช้ไม้ขัดกันเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับวางกระจาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๕๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมเป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่สามารถ นำบาตรไปได้ ผมจึงขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่ สามารถนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้สิกกา สมมติแก่ภิกษุนั้น นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่ สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สิกกาสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ [๒๗๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถจะเดินไปไหนได้ ขาดสาแหรกก็ไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติ แก่ภิกษุผู้เป็นไข้”
คำขอทัณฑสิกกาสมมติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ทัณฑสิกกาสมมติอย่างนี้ ภิกษุเป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหา สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๕๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมเป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถ จะไปไหนได้ ขาดสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ผมขอทัณฑสิกกาสมมติต่อสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถ จะเดินไปไหนได้ ขาดสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอทัณฑสิกกาสมมติ ต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถ จะเดินไปไหนได้ ขาดสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอทัณฑสิกกาสมมติ ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ทัณฑ สิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึง ทักท้วง ทัณฑสิกกาสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๕๖-๕๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=1024&Z=1107                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=135              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=135&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=135&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:24.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.24



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :