ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องหม้อปัสสาวะ
[๒๙๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะลงในที่นั้นๆ ในอาราม อารามสกปรก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายปัสสาวะในที่สมควร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

อารามมีกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต หม้อปัสสาวะ” ภิกษุทั้งหลายนั่งปัสสาวะไม่สะดวก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ” ฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะอยู่ในที่เปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่ายปัสสาวะ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้” หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิดส่งกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”
เรื่องหลุมถ่ายอุจจาระ
[๒๙๑] สมัยนั้น พวกภิกษุถ่ายอุจจาระลงในที่นั้นๆ ในอาราม อารามสกปรก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่สมควร” อารามมีกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต หลุมถ่ายอุจจาระ” ขอบปากหลุมถ่ายอุจจาระพัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อคันกั้นดิน ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ ทำด้วยไม้” หลุมอุจจาระพื้นต่ำ น้ำจึงท่วม ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ถมพื้นให้สูง” ดินที่ถมพัง ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ได้ ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้” ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระที่ริมหลุมพลัดตกลงไป ฯลฯ พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดพื้นแล้วเจาะช่องถ่ายอุจจาระตรงกลาง” ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระไม่สะดวก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตฐานวางเท้าถ่ายอุจจาระ” ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะออกไปข้างนอก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตรางรองปัสสาวะ” ไม้ชำระไม่มี ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระ” ตะกร้าใส่ไม้ชำระไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ตะกร้าใส่ไม้ชำระ” หลุมอุจจาระไม่ได้ปิดฝา ส่งกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”
เรื่องวัจกุฎี
ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในที่แจ้งต้องลำบากเพราะความร้อนบ้าง เพราะความ หนาวบ้าง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัจกุฎี” วัจกุฎีไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก” ผงหญ้าตกเกลื่อนวัจกุฎี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้รื้อลง แล้วเอาดินโบกฉาบดินทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้ มีสียางไม้ เขียน ลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน ลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

[๒๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งทุพพลภาพเพราะชรา ถ่ายอุจจาระแล้วลุกขึ้น ล้มลง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกสำหรับเหนี่ยว” วัจกุฎีไม่ได้ล้อมรั้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้” วัจกุฎีไม่มีซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม” ซุ้มมีพื้นที่ต่ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถม พื้นให้สูง” ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้” ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้” เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” ซุ้มไม่มีประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก” ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

สียางไม้ เขียนลวดลายพวงดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด ลายดอกจอก” บริเวณลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรย กรวดแร่” กรวดแร่ยังไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้วางศิลาเรียบ” น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ” หม้ออุจจาระไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต หม้ออุจจาระ” กระบอกขันตักน้ำล้างอุจจาระไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบอกขันตักน้ำล้างอุจจาระ” ภิกษุทั้งหลายนั่งชำระไม่สะดวก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฐานวางเท้าชำระ” ฐานที่นั่งถ่ายอยู่ในที่เปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่าย ฯลฯ พระผู้มีพระ ภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้” หม้ออุจจาระไม่ได้ปิด ผงหญ้าและขี้ฝุ่นตกลง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๗๔-๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=1388&Z=1452                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=189              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=189&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=189&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:35.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.35



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :