ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา

๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
[๓๖๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาต ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อน เข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่ทันสังเกตเข้าไปบ้าน สำคัญว่าประตูบ้าน เข้าไปยังห้องหนึ่งซึ่งมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นหญิงเปลือยกาย นอนหงายอยู่นั้น จึงรู้ว่า “นี้ไม่ใช่ประตู แต่เป็นห้องนอน” จึงออกจากห้องนั้นไป สามีของหญิงนั้นเห็นนางเปลือยกายนอนหงายก็เข้าใจว่า “ภิกษุรูปนี้ทำมิดีมิร้าย ภรรยาของเรา” จึงจับภิกษุนั้นทำร้าย ลำดับนั้น หญิงนั้นตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ได้ถามสามีดังนี้ว่า “พี่ ท่านทำร้าย ภิกษุทำไม” เขาตอบว่า “ภิกษุนี้ทำมิดีมิร้ายเธอ” นางพูดว่า “ภิกษุนี้ไม่ได้ทำมิดีมิร้ายฉัน ภิกษุนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย” แล้วให้ ปล่อยภิกษุนั้นไป ภิกษุนั้นกลับไปอารามแล้วบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุอื่นทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาตเล่า ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๓๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า “เวลานี้ เราจักเข้าบ้าน” พึงนุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุมล้างบาตรแล้วถืออย่างสำรวมเข้าบ้าน โดยไม่รีบร้อน พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้าบ้านก็พึงสังเกตว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้า ไม่ พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืน กำหนดว่า “เขาประสงค์จะถวายหรือ“” เมื่อเขาถวายอาหารพึงใช้มือข้างซ้ายแหวก ผ้าสังฆาฏิแล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร ไม่มองดูหน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์ จะถวาย” ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขา ประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตร ไม่ต้องรีบร้อน กลับ อย่างสำรวม พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๒๓๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๘. วัตตขันธกะ]

๗. อารัญญิกวัตตกถา

พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ผู้กลับจากบิณฑบาตมาถึงก่อน พึงปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้อง เช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉันตั้งไว้ ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ ผู้กลับจากบิณฑบาตถึงทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าต้องการก็พึงฉัน ไม่ต้องการก็เททิ้งในที่ปราศจาก ของเขียวสด หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ พึงรื้อขนอาสนะเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เก็บไว้ เก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดโรงฉัน ภิกษุผู้เห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็พึงจัดหาไปตั้งไว้ ถ้า เป็นเรื่องสุดวิสัยก็กวักมือเรียกเพื่อนมาให้ช่วยกันจัด แต่ไม่พึงออกคำสั่งเพราะเรื่องนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้ เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๓๓-๒๓๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=4518&Z=4574                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=426              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=426&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=426&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd18/en/brahmali#pli-tv-kd18:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd18/en/horner-brahmali#Kd.18.5.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :