ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๓. อนิยตกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในอนิยตกัณฑ์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์

บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปฐมอนิยตสิกขาบทนั้นจัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็นพระ ปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท โดยอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท
[๒๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้ กับมาตุคามสองต่อสอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์

ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน บัญญัติอยู่หรือ ตอบ : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุบัญญัติ และ อนุปปันนบัญญัติ ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปฐมอนิยตสิกขาบทนี้จัดเข้าใน อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๔ ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน ตอบ : เป็นสีลวิบัติก็มี เป็นอาจารวิบัติก็มี ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิกก็มี เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสก็มี เป็นกองอาบัติ ปาจิตตีย์ก็มี ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์

ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์ ถาม : อะไรเป็นวิบัติ ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ ถาม : อะไรเป็นสมบัติ ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำอย่างนี้อีก” แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบทนี้ โดยทรงอาศัยอำนาจ ประโยชน์เท่าไร ตอบ : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบทนี้ โดยทรงอาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์

๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย ถาม : ใครศึกษาอยู่ ตอบ : พระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่ ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล ถาม : ใครทรงเอาไว้ ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปฐมอนิยตสิกขาบทได้ทรงเอาไว้ ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถาม : ใครนำมา ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป เป็นผู้นำพระวินัยสืบๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้ ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์

จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่ พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะเป็นพหูสูต พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย พระสุมนะมีปัญญามาก ผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย และพระสิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์

๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท
[๒๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุติยอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง ถาม : ในทุติยอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและอนุปปันน บัญญัติอยู่หรือ ตอบ : ในทุติยอนิยตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุบัญญัติ และอนุปปันนบัญญัติ ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ทุติยอนิยตสิกขาบทนี้จัดเข้าใน อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส ถาม : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์

ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๔ ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน ตอบ : เป็นสีลวิบัติก็มี เป็นอาจารวิบัติก็มี ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสก็มี เป็นกองอาบัติปาจิตตีย์ก็มี ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่ เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจา กับจิต ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์ ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ฯลฯ
อนิยต ๒ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐและผู้มีความคงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๒๑-๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=377&Z=505                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=23              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=23&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=23&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/brahmali#pli-tv-pvr1.1:60.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/horner-brahmali#Prv.1.1:Bu-An.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :