ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑
วัตตุกามวารกถา
ขัณฑจักรแห่งเอกมูลกนัย
วัตถุวิสารกะ
[๒๑๕] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้ง ที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตสมาธิ ฯลฯ อนิมิตตสมาธิ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาธิ ฯลฯ สุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาบัติ ฯลฯ วิชชา ๓ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ โสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๐๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิต ของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ฯลฯ จิตของ ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวอยู่ ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ขัณฑจักรแห่งเอกมูลกนัย วัตถุวิสารกะ จบ
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ
[๒๑๖] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้ง ที่รู้ว่าข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
พัทธจักร เอกมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๐๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

หัวข้อแห่งพัทธจักรที่ท่านย่อไว้
[๒๑๗] ภิกษุต้องการกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จ ทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่ รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อ เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ ที่ท่านย่อไว้ จบ
ขัณฑจักรทุมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว แต่กล่าว เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว แต่กล่าว เท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ขัณฑจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๐๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว เท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่น เข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะที่ท่านย่อไว้ จบ
พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี สัตตมูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี ทสมูลกนัยก็ดี แห่งวัตถุวิสารกะ บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือน พัทธจักรแม้ที่เป็นเอกมูลกนัยแห่งนิกเขปบทที่ขยายไว้แล้ว พึงขยายให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัยที่ท่านขยายให้พิสดารไว้แล้วเถิด คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักร สัพพมูลกนัย [๒๑๘] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๐๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผลแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะและจิต ของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วย อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ [๒๑๙] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล ข้าพเจ้า สละราคะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและจตุตถฌาน ฯลฯ และ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเข้า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๐๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร สัพพมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
จักรเปยยาลแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
วัตตุกามวารกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=9526&Z=10277                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=255              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=255&items=24              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=255&items=24                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj4/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj4:4.3.151.0



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :