ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุผู้ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
เรื่องพระโกกาลิกะและพวกประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัต
[๔๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร ภิกษุทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า “พระเทวทัตกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นธรรม กล่าว สิ่งที่ไม่เป็นวินัย ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า” เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระ ขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น พระเทวทัตกล่าวสิ่งที่เป็นธรรม กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ท่านกล่าวตามความพอใจและความชอบใจของพวกเรา ท่านทราบความพอใจและ ความชอบใจของพวกเราจึงกล่าว พวกเราเห็นด้วยกับคำของท่าน” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัตผู้เพียรพยายามเพื่อ ทำลายสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุพวกพระโกกาลิกะเหล่านั้นโดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า มีภิกษุประพฤติตาม กล่าว สนับสนุนเทวทัตผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๔๑๘] ก็ ภิกษุมีจำนวน ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูปประพฤติตาม กล่าว สนับสนุนภิกษุนั้น พวกเธอกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุนั้นกล่าวตามความ พอใจและความชอบใจของพวกเรา เธอทราบความพอใจและความชอบใจของ พวกเราจึงกล่าว พวกเราเห็นด้วยกับคำนั้น” ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง ว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าพูดอย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่ง ที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่านอย่าชอบใจการทำลาย สงฆ์ พวกท่านจงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่ วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” ภิกษุเหล่านั้นอันพวกภิกษุว่ากล่าว ตักเตือนอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง สวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าพวกเธอกำลังถูกสวด สมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพวกเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระโกกาลิกะและพวกประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนพระเทวทัต จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๙] คำว่า ก็...ภิกษุนั้น คือ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น คำว่า ภิกษุ คือ มีภิกษุเหล่าอื่น คำว่า ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร พอใจอย่างไร และชอบใจอย่างไร แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เห็นอย่างนั้น พอใจอย่างนั้นและชอบใจ อย่างนั้น คำว่า กล่าวสนับสนุน คือ ดำรงอยู่ในพวก ในฝ่ายของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป ความว่า มีภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น ภิกษุนั้นกล่าว สิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุนั้นกล่าวตามความพอใจและชอบใจ ของพวกเรา เธอทราบความพอใจและความชอบใจของพวกเราจึงกล่าว พวกเรา เห็นด้วยกับคำนั้น” คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประพฤติตาม เหล่านั้นว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุ นั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจง พร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวก เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุ ทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่าง นั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่าน อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อม เพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือน พวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุเหล่านั้น
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า [๔๒๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

นั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และ ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่อง นั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่าน รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อ นี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็น ด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ [๔๒๑] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพวกเธอต้องอาบัติ สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุ ๒-๓ รูปคราวเดียวกัน ไม่พึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุมากกว่านั้นคราวเดียวกัน คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
[๔๒๒] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๒๓] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๒. ภิกษุผู้ยอมสละ ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๕. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบทที่ ๑๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๔๙-๔๕๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=18604&Z=18734                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=600              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=600&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=2616              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=600&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=2616                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss11/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :