ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๒. ทุพพจสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
เรื่องพระฉันนะ
[๔๒๔] สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง โกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะ๑- ประพฤติไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน อย่างนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนั้นไม่สมควร” ท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านสำคัญว่าผมเป็นผู้ที่พวกท่านควร ว่ากล่าวตักเตือนหรือ ผมต่างหากสมควรว่ากล่าวตักเตือนพวกท่าน พระพุทธเจ้า เป็นของผม พระธรรมเป็นของผม พระธรรมอันพระลูกเจ้าของผมเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว พวกท่านต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างตระกูล มาบวชรวมกัน ดุจลมพายุพัดหญ้า ไม้ และใบไม้แห้งมารวมกัน หรือดุจแม่น้ำไหลจากภูเขาพัดจอกแหนมารวมกันไว้ พวก ท่านสำคัญว่าผมเป็นผู้ที่พวกท่านควรว่ากล่าวตักเตือนหรือ ผมต่างหากสมควรว่า กล่าวตักเตือนพวกท่าน พระพุทธเจ้าเป็นของผม พระธรรมเป็นของผม พระธรรม อันพระลูกเจ้าของผมเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว” บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระฉันนะเมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว ตักเตือนโดยชอบธรรมจึงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้เล่า” ครั้นภิกษุ ทั้งหลายตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน @เชิงอรรถ : @ พระฉันนะ เคยเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ต่อมาเมื่อบวชเป็นภิกษุถือตัวว่า @เป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้า ใครว่ากล่าวก็ไม่ยอมเชื่อฟัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๒. ทุพพจสิกขาบท พระบัญญัติ

โดยชอบธรรมกลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จริงหรือ” ท่านพระฉันนะ ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ ไฉนเธออันภิกษุทั้งหลายว่า กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรมจึงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๒๕] ก็ ภิกษุเป็นคนว่ายาก อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดย ชอบธรรม ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือน ไม่ได้ โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรผม ไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะ ไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลวเหมือนกัน พวกท่านงดเว้นว่ากล่าวผม เถิด” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าทำตัว ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้ แม้ท่านก็จงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะ ว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญ แล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วย เหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน อยู่อย่างนี้ ก็ยังยกย่องอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระฉันนะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๒. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๔๒๖] คำว่า ก็...ภิกษุเป็นคนว่ายาก ความว่า เป็นผู้ว่ายาก ประกอบ ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ไม่อดทนรับคำสอนโดยเคารพ คำว่า ในสิกขาบทที่มาในอุทเทศ ได้แก่ ในสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ คำว่า ภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น ชื่อว่า โดยชอบธรรม คือ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัตติแล้ว นั่น ชื่อว่า โดยชอบธรรม ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยสิกขาบทชอบธรรมนั้น กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้โดยกล่าวว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าว อะไรผมไม่ว่าดีหรือเลว ถึงผมก็จะไม่ว่ากล่าวอะไรพวกท่าน ไม่ว่าดีหรือเลว พวก ท่านจงเว้นว่ากล่าวผมเถิด” คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ว่ายากนั้น คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุเป็นคนว่ายากนั้นว่า “ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตัก เตือนได้ แม้ท่านจงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็ จะว่ากล่าวตักเตือนท่านโดยชอบธรรม เพราะว่าบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกัน และกันให้ออกจากอาบัติ” ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ ควรว่ากล่าวตัก เตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้ง หลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “ท่านอย่าทำตัวให้เป็นคนที่ ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ จงทำตัวให้เป็นคนที่เขาว่ากล่าวตักเตือนได้ แม้ท่านจงว่า กล่าวตักเตือนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แม้ภิกษุทั้งหลายก็จะว่ากล่าวตักเตือน ท่านโดยชอบธรรม เพราะบริษัทของพระผู้มีพระภาคเจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๒. ทุพพจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ด้วยการว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน ด้วยการช่วยเหลือกันและกันให้ออกจากอาบัติ” ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ ควรว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอ สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์เธอ
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า [๔๒๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่า กล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้น ไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละ เรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตัก เตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัวให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอม สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่ เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กลับทำตัว ให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้ ภิกษุนั้นไม่ยอมสละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์ เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ [๔๒๘] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑๒. ทุพพจสิกขาบท อนาปัตติวาร

อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
[๔๒๙] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๓๐] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๒. ภิกษุผู้ยอมสละ ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุพพจสิกขาบทที่ ๑๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๕๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๕๔-๔๕๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=18735&Z=18862                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=607              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=607&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=2632              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=607&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=2632                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss12/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :