ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. มูลปริยายวรรค
หมวดว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรม
๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรม
[๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้รังใหญ่ในสุภควัน เขตเมือง อุกกัฏฐา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุ ทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง๒- แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้ หมายถึงพระอานนท์ @ คำว่า มูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง แปลจากคำว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย มีอธิบายเฉพาะคำดังนี้ คำว่า มูล @ในที่นี้หมายถึงเหตุที่ไม่ทั่วไป คำว่า เหตุ (ปริยาย) หมายถึงเทศนา เหตุ และวาระ แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุ @หรือเทศนา คำว่า ธรรมทั้งปวง หมายถึงปริยัติ อริยสัจ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ @อาบัติ และเญยยะเป็นต้น แต่ในที่นี้หมายถึงสภาวะ ดังนั้นคำว่า มูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง จึงหมายถึง @เทศนาว่าด้วยเหตุให้เกิดสภาวะทั้งปวง (ม.มู.อ. ๑/๑/๑๘-๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๑ ว่าด้วยปุถุชน
[๒] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑- ในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ๒- ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้พบสัตบุรุษ๓- ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำใน ธรรมของสัตบุรุษ หมายรู้ปฐวี๔- (ดิน)โดยความเป็นปฐวี ครั้นหมายรู้ปฐวีโดย ความเป็นปฐวี๕- แล้ว กำหนดหมายซึ่งปฐวี๖- กำหนดหมายในปฐวี กำหนดหมาย นอกปฐวี๗- กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ยินดีปฐวี๘- @เชิงอรรถ : @ ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนา @นานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ (๑) อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (๒) กัลยาณ- @ปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ม.มู.อ. ๑/๒/๒๒, ที.สี.อ. ๑/๗/๕๘-๕๙) @ พระอริยะ หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก ที่ชื่อว่าพระอริยะเพราะเป็นผู้ @ไกลจากกิเลส ไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม ดำเนินไปแต่ในทางเจริญ เป็นผู้ที่ชาวโลกและเทวโลกควรดำเนินตาม @(ม.มู.อ. ๑/๒/๒๒) @ สัตบุรุษ โดยทั่วไป หมายถึงคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตร เป็นผู้มีความภักดีมั่นคง @กระทำการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ด้วยความเต็มใจ แต่ในที่นี้ หมายถึงพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้า @และพระพุทธสาวก (ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๗๘-๗๙/๖๐๘, ม.มู.อ. ๑/๒/๒๒) @ ปฐวี มี ๔ ชนิด คือ (๑) ลักขณปฐวี เป็นสิ่งที่แข็งกระด้าง หยาบเฉพาะตนในตัวมันเอง (๒) สสัมภารปฐวี @เป็นส่วนแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และวัตถุภายนอกมีโลหะเป็นต้น พร้อมทั้งคุณสมบัติมีสีเป็นต้น @(๓) อารัมมณปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่นำมากำหนดเป็นอารมณ์ของปฐวีกสิณ นิมิตตปฐวี ก็เรียก @(๔) สัมมติปฐวี เป็นปฐวีธาตุที่ปฐวีเทวดามาเกิดในเทวโลกด้วยอำนาจปฐวีกสิณและฌานในที่นี้ ปฐวี @หมายถึงทั้ง ๔ ชนิด (ม.มู.อ. ๑/๒/๒๗) @ หมายรู้ปฐวีโดยความเป็นปฐวี ในที่นี้หมายถึงหมายรู้แผ่นดินนั้นด้วยสัญญาที่วิปริตคือกำหนดให้ต่าง @ออกไปจากความเป็นจริงโดยประการต่างๆ ด้วยกิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะและทิฏฐิ ที่มีกำลัง @(ม.มู.อ. ๑/๒/๒๘) @ กำหนดหมายซึ่งปฐวี หมายถึงกำหนดหมายด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐิว่า 'เราเป็นดิน ดินเป็นของเรา, @คนอื่นเป็นดิน ดินเป็นของคนอื่น หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงกำหนดหมายด้วยอำนาจตัณหาให้เกิดฉันทราคะ @ติดใจในผมเป็นต้นจนถึงตั้งความปรารถนาว่า 'ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์นี้ ขอให้เรามีผมนุ่มดำสนิทดี, @กำหนดหมายด้วยอำนาจมานะว่า 'เราดีกว่า เราเสมอกัน หรือเราด้อยกว่า' และกำหนดหมายด้วยอำนาจ @ทิฏฐิ คือ ยึดมั่นว่าผมเป็นชีวะ โดยนัยว่า 'ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น' (ม.มู.อ. ๑/๒/๒๘-๓๐) @ กำหนดหมายในปฐวี หมายถึงกำหนดหมายด้วยอำนาจทิฏฐิว่า "มีเราอยู่ในดิน หรือเรามีปลิโพธิในดิน @มีผู้อื่นอยู่ในดิน หรือผู้อื่นมีปลิโพธในดิน" ตามนัยที่ว่า 'พิจารณาเห็นอัตตาในรูปเป็นต้น (ดู ขุ.ป. @๓๑/๑๓๑/๒๑๐) กำหนดหมายนอกปฐวี หมายถึงกำหนดหมายด้วยอำนาจทิฏฐิว่า ตนหรือคนอื่นพร้อม @ทั้งสรรพสิ่งล้วนแต่เกิดจากดินแต่มิใช่ดินตามลัทธิพรหมัณฑวาท (ลัทธิที่เชื่อว่าโลกเกิดจากพรหม) ลัทธิ @อณุกวาท (ลัทธิที่เชื่อว่าโลกประกอบด้วยอณู) หรือลัทธิอิสสรวาท (ลัทธิที่เชื่อว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างโลก) @แล้วเกิดตัณหา มานะในตน และบุคคลอื่นตลอดถึงสรรพสิ่งนั้น (๑/๒/๓๐, ม.มู.ฏีกา ๑/๒/๙๒-๙๓) @ ยินดีปฐวี หมายถึงเพลิดเพลินยินดีติดใจปฐวีด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ ความยินดีปฐวีนั่นเองชื่อว่ายินดี @ทุกข์ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า 'ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า 'ผู้ใดยินดีปฐวีธาตุ ผู้นั้นยินดีทุกข์ @ผู้ใดยินดีทุกข์ ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์' (ม.มู.อ. ๑/๒/๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้๑-’ หมายรู้อาโป(น้ำ)โดยความเป็นอาโป ครั้นหมายรู้อาโปโดยความเป็นอาโปแล้ว กำหนดหมายซึ่งอาโป กำหนดหมายในอาโป กำหนดหมายนอกอาโป กำหนด หมายอาโปว่าเป็นของเรา ยินดีอาโป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้เตโช(ไฟ)โดยความเป็นเตโช ครั้นหมายรู้เตโชโดยความเป็นเตโชแล้ว กำหนดหมายซึ่งเตโช กำหนดหมายในเตโช กำหนดหมายนอกเตโช กำหนด หมายเตโชว่าเป็นของเรา ยินดีเตโช ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้วาโย(ลม)โดยความเป็นวาโย ครั้นหมายรู้วาโยโดยความเป็นวาโยแล้ว กำหนดหมายซึ่งวาโย กำหนดหมายในวาโย กำหนดหมายนอกวาโย กำหนด หมายวาโยว่าเป็นของเรา ยินดีวาโย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ @เชิงอรรถ : @ ไม่ได้กำหนดรู้ หมายถึงไม่ได้กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ประการ คือ (๑) ญาตปริญญา ได้แก่ รู้ว่า ‘นี้เป็น @ปฐวีธาตุภายใน นี้เป็นปฐวีธาตุภายนอก นี้เป็นลักษณะ กิจ เหตุเกิด และที่เกิดแห่งปฐวีธาตุ’ หรือได้แก่ @กำหนดนามและรูป (๒) ตีรณปริญญา ได้แก่ พิจารณาเห็นว่า ‘ปฐวีธาตุมีอาการ ๔๐ คือ อาการไม่เที่ยง @เป็นทุกข์ เป็นโรค’ เป็นต้น หรือได้แก่ พิจารณากลาปะ (ความเป็นกลุ่มก้อน) เป็นต้น พิจารณาอนุโลมญาณ @เป็นที่สุด (๓) ปหานปริญญา ได้แก่ เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วย @อำนาจความพอใจ) ในปฐวีธาตุด้วยอรหัตตผล หรือได้แก่ ญาณในอริยมรรค @เพราะปริญญา ๓ ประการนี้ไม่มีแก่ปุถุชน เขาจึงกำหนดหมายและยินดีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ @และวาโยธาตุ (ม.มู.อ. ๑/๒/๓๑-๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

[๓] หมายรู้ภูต๑- โดยความเป็นภูต ครั้นหมายรู้ภูตโดยความเป็นภูตแล้ว กำหนดหมายซึ่งภูต กำหนดหมายในภูต กำหนดหมายนอกภูต กำหนดหมายภูต ว่าเป็นของเรา ยินดีภูต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดา ครั้นหมายรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดาแล้ว กำหนดหมายซึ่งเทวดา กำหนดหมายในเทวดา กำหนดหมายนอกเทวดา กำหนด หมายเทวดาว่าเป็นของเรา ยินดีเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้ปชาบดี๒- โดยความเป็นปชาบดี ครั้นหมายรู้ปชาบดีโดยความเป็น ปชาบดีแล้ว กำหนดหมายซึ่งปชาบดี กำหนดหมายในปชาบดี กำหนดหมายนอก ปชาบดี กำหนดหมายปชาบดีว่าเป็นของเรา ยินดีปชาบดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้พรหมโดยความเป็นพรหม ครั้นหมายรู้พรหมโดยความเป็นพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งพรหม กำหนดหมายในพรหม กำหนดหมายนอกพรหม กำหนด หมายพรหมว่าเป็นของเรา ยินดีพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ @เชิงอรรถ : @ ภูต หมายถึงขันธ์ ๕ อมนุษย์ ธาตุ สิ่งที่มีอยู่ พระขีณาสพ สัตว์ และต้นไม้เป็นต้น แต่ในที่นี้หมายถึงสัตว์ @ทั้งหลายผู้อยู่ต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราช (ม.มู.อ. ๑/๓/๓๔) @ ปชาบดี หมายถึงผู้ยิ่งใหญ่กว่าปชาคือหมู่สัตว์ ได้แก่ มารชื่อว่า ปชาบดี เพราะปกครองเทวโลกชั้นปรนิม- @มิตวสวัตดี (ม.มู.อ. ๑/๓/๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

หมายรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้นหมายรู้อาภัสสร- พรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งอาภัสสรพรหม กำหนด หมายในอาภัสสรพรหม กำหนดหมายนอกอาภัสสรพรหม กำหนดหมายอาภัสสร- พรหมว่าเป็นของเรา ยินดีอาภัสสรพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้นหมายรู้สุภกิณห- พรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งสุภกิณหพรหม กำหนด หมายในสุภกิณหพรหม กำหนดหมายนอกสุภกิณหพรหม กำหนดหมายสุภกิณห- พรหมว่าเป็นของเรา ยินดีสุภกิณหพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้นหมายรู้เวหัปผล- พรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งเวหัปผลพรหม กำหนด หมายในเวหัปผลพรหม กำหนดหมายนอกเวหัปผลพรหม กำหนดหมายเวหัปผล- พรหมว่าเป็นของเรา ยินดีเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้อภิภูสัตว์๑- โดยความเป็นอภิภูสัตว์ ครั้นหมายรู้อภิภูสัตว์โดยความ เป็นอภิภูสัตว์แล้ว กำหนดหมายซึ่งอภิภูสัตว์ กำหนดหมายในอภิภูสัตว์ กำหนด หมายนอกอภิภูสัตว์ กำหนดหมายอภิภูสัตว์ว่าเป็นของเรา ยินดีอภิภูสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้ @เชิงอรรถ : @ อภิภูสัตว์ กับ อสัญญีสัตว์ เป็นไวพจน์ของกันและกัน หมายถึงสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับ @เวหัปผลพรหม บังเกิดด้วยอิริยาบถใดก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นตราบสิ้นอายุขัย (ม.มู.อ. ๑/๓/๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

[๔] หมายรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตน- พรหม ครั้นหมายรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตน- พรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งอากาสานัญจายตนพรหม กำหนดหมายใน อากาสานัญจายตนพรหม กำหนดหมายนอกอากาสานัญจายตนพรหม กำหนด หมายอากาสานัญจายตนพรหมว่าเป็นของเรา ยินดีอากาสานัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้' หมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ครั้น หมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งวิญญาณัญจายตนพรหม กำหนดหมายในวิญญาณัญจายตนพรหม กำหนดหมายนอกวิญญาณัญจายตนพรหม กำหนดหมายวิญญาณัญจายตนพรหม ว่าเป็นของเรา ยินดีวิญญาณัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้' หมายรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ครั้น หมายรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหมแล้ว กำหนด หมายซึ่งอากิญจัญญายตนพรหม กำหนดหมายในอากิญจัญญายตนพรหม กำหนดหมายนอกอากิญจัญญายตนพรหม กำหนดหมายอากิญจัญญายตนพรหม ว่าเป็นของเรา ยินดีอากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า 'เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้' หมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตน- พรหม ครั้นหมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญา- นาสัญญายตนพรหมแล้ว กำหนดหมายซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม กำหนด หมายในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม กำหนดหมายนอกเนวสัญญา- นาสัญญายตนพรหม กำหนดหมายเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่าเป็นของเรา ยินดีเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ [๕] หมายรู้รูปที่ตนเห็น๑- โดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ครั้นหมายรู้รูปที่ตนเห็น๑- โดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว กำหนดหมายซึ่งรูปที่ตนเห็น กำหนดหมายในรูป ที่ตนเห็น กำหนดหมายนอกรูปที่ตนเห็น กำหนดหมายรูปที่ตนเห็นว่าเป็นของเรา ยินดีรูปที่ตนเห็น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้เสียงที่ตนได้ยิน๒- โดยความเป็นเสียงที่ตนได้ยิน ครั้นหมายรู้เสียงที่ตน ได้ยินโดยความเป็นเสียงที่ตนได้ยินแล้ว กำหนดหมายซึ่งเสียงที่ตนได้ยิน กำหนด หมายในเสียงที่ตนได้ยิน กำหนดหมายนอกเสียงที่ตนได้ยิน กำหนดหมายเสียงที่ ตนได้ยินว่าเป็นของเรา ยินดีเสียงที่ตนได้ยิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้อารมณ์ที่ตนทราบ๓- โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นหมายรู้ อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว กำหนดหมายซึ่งอารมณ์ ที่ตนทราบ กำหนดหมายในอารมณ์ที่ตนทราบ กำหนดหมายนอกอารมณ์ที่ตน ทราบ กำหนดหมายอารมณ์ที่ตนทราบว่าเป็นของเรา ยินดีอารมณ์ที่ตนทราบ @เชิงอรรถ : @ รูปที่ตนเห็น หมายถึงสิ่งที่ตนเห็นทางมังสจักขุ หรือทิพพจักขุ คำนี้เป็นชื่อแห่งรูปายตนะ (ม.มู.อ. ๑/๕/๔๐) @ เสียงที่ตนได้ยิน หมายถึงสิ่งที่ตนฟังทางมังสโสตะ หรือทิพพโสตะ คำนี้เป็นชื่อแห่งสัททายตนะ @(ม.มู.อ. ๑/๕/๔๑) @ อารมณ์ที่ตนทราบ หมายถึงอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว และรู้แล้วจึงรับเอา คือ เข้าไปกระทบรับเอา มีคำ @อธิบายว่า ที่ตนรู้แจ้งแล้วเพราะการกระทบกันและกันระหว่างอินทรีย์กับอารมณ์ทั้งหลาย คำนี้เป็นชื่อแห่ง @คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ (ม.มู.อ. ๑/๕/๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง๑- โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นหมายรู้ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว กำหนดหมายซึ่งอารมณ์ที่ ตนรู้แจ้ง กำหนดหมายในอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง กำหนดหมายนอกอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง กำหนดหมายอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่าเป็นของเรา ยินดีอารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ [๖] หมายรู้ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอัน เดียวกัน ครั้นหมายรู้ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอัน เดียวกันแล้ว กำหนดหมายซึ่งความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน กำหนดหมายในความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน กำหนดหมายนอก ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน กำหนดหมายความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติ เป็นอันเดียวกันว่าเป็นของเรา ยินดีความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้ความที่กามจิตต่างกันโดยความเป็นของต่างกัน ครั้นหมายรู้ความที่ กามจิตต่างกันโดยความเป็นของต่างกันแล้ว กำหนดหมายซึ่งความที่กามจิตต่างกัน กำหนดหมายในความที่กามจิตต่างกัน กำหนดหมายนอกความที่กามจิตต่างกัน กำหนดหมายความที่กามจิตต่างกันว่าเป็นของเรา ยินดีความที่กามจิตต่างกัน @เชิงอรรถ : @ อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง หมายถึงอารมณ์ที่ตนรู้แจ้งทางใจ คำนี้เป็นชื่อแห่งอายตนะที่เหลือ อีกอย่างหนึ่ง @เป็นชื่อแห่งธรรมารมณ์ แต่ในที่นี้ได้เฉพาะอารมณ์ที่นับเนื่องในกายของตน (ม.มู.อ. ๑/๕/๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้สักกายะ๑- ทั้งปวงโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ครั้นหมายรู้สักกายะ ทั้งปวงโดยความเป็นสักกายะทั้งปวงแล้ว กำหนดหมายซึ่งสักกายะทั้งปวง กำหนด หมายในสักกายะทั้งปวง กำหนดหมายนอกสักกายะทั้งปวง กำหนดหมายสักกายะ ทั้งปวงว่าเป็นของเรา ยินดีสักกายะทั้งปวง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’ หมายรู้นิพพาน๒- โดยความเป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็น นิพพานแล้ว กำหนดหมายซึ่งนิพพาน กำหนดหมายในนิพพาน กำหนดหมาย นอกนิพพาน กำหนดหมายนิพพานว่าเป็นของเรา ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๑ ว่าด้วยปุถุชน จบ
@เชิงอรรถ : @ สักกายะ หมายถึงอุปาทานขันธ์ ๕ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๖, @ขุ.ม.อ. ๑๓/๑๖๓) @ นิพพาน ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่ปุถุชนเข้าใจผิด ด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ คือ เข้าใจว่า @‘อัตตาที่พรั่งพร้อม เพียบพร้อม บำเรอด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานในปัจจุบัน, นิพพานเป็นอัตตา @อัตตาเป็นอย่างอื่นจากนิพพาน ความสุขเป็นนิพพาน หรือนิพพานเป็นของเรา’ (ม.มู.อ. ๑/๖/๔๒, @ม.มู.ฏีกา ๑/๖/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๒ ว่าด้วยเสขบุคคล
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดยังเป็นเสขบุคคล๑- ไม่ได้บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวี โดยความเป็นปฐวี๒- ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวี อย่ากำหนดหมายในปฐวี อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี อย่ากำหนดหมายปฐวีว่า เป็นของเรา อย่ายินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาควรกำหนดรู้’ ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป ... เตโช ... วาโย ... ภูต ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนได้ยิน ... อารมณ์ ที่ตนทราบ ... อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ... ความที่กามจิตต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว อย่ากำหนดหมายซึ่งนิพพาน อย่า กำหนดหมายในนิพพาน อย่ากำหนดหมายนอกนิพพาน อย่ากำหนดหมาย นิพพานว่าเป็น ของเรา อย่ายินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาควรกำหนดรู้’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๒ ว่าด้วยเสขบุคคล จบ
@เชิงอรรถ : @ เสขบุคคล หมายถึงบุคคลผู้ที่ยังต้องศึกษา ๓ จำพวก ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ @พระอนาคามีผู้ยังต้องฝึกอบรมในไตรสิกขา คือ (๑) อธิสีลสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องศีล (๒) อธิจิตตสิกขา @ฝึกอบรมในเรื่องจิต (สมาธิ) (๓) อธิปัญญาสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา (ม.มู.อ. ๑/๗/๔๔, @องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๘๖/๓๑๒) @ รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี หมายถึงรู้ด้วยสัญญาที่แตกต่างจากปุถุชน หรือรู้ด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง กล่าว @คือญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา มีคำอธิบายว่า เมื่อปล่อยวางความเป็นปฐวีอย่างนี้ @ย่อมรู้ยิ่งปฐวีนั้นว่า ‘ไม่เที่ยง’ บ้าง ว่า ‘เป็นทุกข์’ บ้าง ว่า ‘เป็นอนัตตา’ บ้าง (ม.มู.อ. ๑/๗/๔๕-๔๖, @ม.มู.ฏีกา ๑/๗/๑๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๓ ว่าด้วยพระขีณาสพ
[๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น ภวสังโยชน์๒- แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขากำหนดรู้แล้ว’ ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป ... เตโช ... วาโย ... ภูต ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนได้ยิน ... อารมณ์ ที่ตนทราบ ... อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ... ความที่กามจิตต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนด หมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น ของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขากำหนดรู้แล้ว’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๓ ว่าด้วยพระขีณาสพ จบ
@เชิงอรรถ : @ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงอยู่จบธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกับครูบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมคือ @อริยมรรคบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ ๑๐ ประการบ้าง (ม.มู.อ. ๑/๘/๔๗) @ สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ ประการ คือ (๑) กามราคะ (๒) ปฏิฆะ (๓) มานะ (๔) ทิฏฐิ @(๕) วิจิกิจฉา (๖) สีลัพพตปรามาส (๗) ภวราคะ (๘) อิสสา (๙) มัจฉริยะ (๑๐) อวิชชา @สังโยชน์เหล่านี้ เรียกว่า ภวสังโยชน์ เพราะผูกพันหมู่สัตว์ไว้ในภพน้อยภพใหญ่ (ม.มู.อ. ๑/๘/๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๔ ว่าด้วยพระขีณาสพ
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากราคะ เนื่องจากราคะสิ้นไป’ ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป ... เตโช ... วาโย ... ภูต ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนได้ยิน ... อารมณ์ที่ ตนทราบ ... อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ... ความที่กามจิตต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนด หมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น ของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากราคะ เนื่องจากราคะสิ้นไป’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๔ ว่าด้วยพระขีณาสพ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๕ ว่าด้วยพระขีณาสพ
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากโทสะ เนื่องจากโทสะสิ้นไป’ ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป ... เตโช ... วาโย ... ภูต ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนได้ยิน ... อารมณ์ ที่ตนทราบ ... อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ... ความที่กามจิตต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนด หมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น ของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากโทสะ เนื่องจากโทสะสิ้นไป’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๕ ว่าด้วยพระขีณาสพ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๖ ว่าด้วยพระขีณาสพ
[๑๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา ไม่ยินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากโมหะ เนื่องจากโมหะสิ้นไป’ ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป ... เตโช ... วาโย ... ภูต ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนได้ยิน ... อารมณ์ ที่ตนทราบ ... อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ... ความที่กามจิตต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนด หมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น ของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาปราศจากโมหะ เนื่องจากโมหะสิ้นไป’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๖ ว่าด้วยพระขีณาสพ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๗ ว่าด้วยพระตถาคต๑-
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้ยิ่งปฐวีโดย ความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็น ของเรา ไม่ยินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะตถาคตกำหนดรู้ปฐวีนั้นแล้ว’ ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป ... เตโช ... วาโย ... ภูต ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนได้ยิน ... อารมณ์ ที่ตนทราบ ... อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ... ความที่กามจิตต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนด หมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น ของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เรากล่าวว่า ‘เพราะตถาคตกำหนดรู้นิพพานนั้นแล้ว’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๗ ว่าด้วยพระตถาคต จบ
@เชิงอรรถ : @ ตถาคต ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค บัณฑิตเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ (๑) เพราะ @เสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒) เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น (๓) เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง (๔) เพราะ @ตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามความเป็นจริง (๕) เพราะทรงเห็นจริง (๖) เพราะตรัสวาจาจริง (๗) เพราะทรงทำจริง @(๘) เพราะทรงครอบงำ (ผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก) (ม.มู.อ. ๑/๑๒/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๑. มูลปริยายสูตร

กำหนดภูมิตามนัยที่ ๘ ว่าด้วยพระตถาคต
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รู้ยิ่งปฐวีโดย ความเป็นปฐวี ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี ไม่กำหนดหมายในปฐวี ไม่กำหนดหมายนอกปฐวี ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของ เรา ไม่ยินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะรู้ว่า ‘ความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีภพ ชาติจึงมี สัตว์ ผู้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องตาย’ เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตตรัสรู้อนุตตร- สัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา คลายตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สลัดทิ้ง ตัณหาโดยประการทั้งปวง’ ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป ... เตโช ... วาโย ... ภูต ... เทวดา ... ปชาบดี ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อภิภูสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนได้ยิน ... อารมณ์ ที่ตนทราบ ... อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน ... ความที่กามจิตต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน ไม่กำหนด หมายในนิพพาน ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น ของเรา ไม่ยินดีนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะรู้ว่า ‘ความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีภพ ชาติจึงมี สัตว์ผู้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องตาย’ เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตตรัสรู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๒. สัพพาสวสูตร

อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา คลายตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สลัดทิ้งตัณหาโดยประการทั้งปวง”
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๘ ว่าด้วยพระตถาคต จบ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิได้มีใจยินดีชื่นชม๑- พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มูลปริยายสูตรที่ ๑ จบ
๒. สัพพาสวสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาสวะทั้งปวง
[๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุแห่งการปิดกั้นอาสวะ๒- ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัส แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ มิได้มีใจยินดีชื่นชม หมายถึงภิกษุเหล่านั้นไม่รู้คือไม่เข้าใจเนื้อความของพระสูตรนี้ เหตุยังมีมานะทิฏฐิ @มาก เพราะมัวเมาในปริยัติ และเพราะพระภาษิตนั้นลึกซึ้งด้วยนัยที่ ๑ คือ ปุถุชน จนถึงนัยที่ ๘ คือ @พระตถาคต ท่านเหล่านั้นจึงไม่รู้แจ้งอรรถแห่งพระพุทธพจน์ จึงมิได้มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตนั้น ภายหลัง @ได้สดับโคตมกสูตร ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสที่โคตมกเจดีย์แล้ว จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมทั้ง @ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย (ม.มู.อ. ๑/๑๓/๖๒-๖๕) @ อาสวะ หมายถึงกิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ @มี ๔ อย่าง คือ (๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม (๒) ภวาสวะ อาสวะคือภพ (๓) ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ @(๔) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (ตามนัย อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗) แต่พระสูตรจัดเป็น ๓ @เพราะสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ (ม.มู.อ. ๑/๑๔/๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑-๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=1&bgc=lavender              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1&Z=237&bgc=lavender                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&bgc=lavender              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=1&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=1&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i001-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i001-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.001.than.html https://suttacentral.net/mn1/en/sujato https://suttacentral.net/mn1/en/bodhi https://suttacentral.net/mn1/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :