ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๖. เจโตขีลสูตร๑-
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังตัดไม่ขาด เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕-๒๐๖/๓๔๗-๓๕๐, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗๑-๗๒/๕๕๕-๕๕๘, @องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๖. เจโตขีลสูตร

กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๑- จิตของ ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ ๒. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ ๓. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ ๔. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา(ข้อที่จะ ต้องศึกษา) ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้ ๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี @เชิงอรรถ : @ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ @ประการ ไม่เชื่อพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๖. เจโตขีลสูตร

ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต ดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละ ไม่ได้ เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ [๑๘๖] กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังตัดไม่ขาด อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของ ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก ความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกามนั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อ เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ที่ ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด ๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลส เครื่องผูกใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด ไม่ขาด ๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่อง ผูกใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด ไม่ขาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๖. เจโตขีลสูตร

๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขใน การนอน ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด ๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือ เทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ บำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิต ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังตัดไม่ขาด ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังตัดไม่ขาด เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ [๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตัดขาดแล้ว เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดา จิตของ ภิกษุผู้ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๖. เจโตขีลสูตร

ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๒. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็น กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๓. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็น กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๔. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ นี้เป็น กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ๕. เป็นผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้าง ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิต ไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต ดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว [๑๘๘] กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุผู้ปราศจากความ กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๖. เจโตขีลสูตร

กระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยาน อยากในกาม ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว ๒. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว ๓. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว ๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็น กิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว ๕. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใด หมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น เทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้น้อมจิตไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๖. เจโตขีลสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุ รูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตัด ขาดแล้ว เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อุปมาด้วยแม่ไก่ฟักไข่
[๑๘๙] ภิกษุนั้น เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑- เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วย จิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร มี ความเพียรยิ่งเป็นที่ ๕ ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕ ๒- รวมทั้งความเพียรอันยิ่งอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่ายยิ่ง๓- ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่นอนกกไว้อย่างดี ให้ความ อบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ ฟักแล้วอย่างดี แม้ว่าแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ถ้าอย่างไร ขอลูกไก่เหล่านี้พึงใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก เจาะทำลายเปลือกไข่ ออกมาโดยสวัสดิภาพ’ ก็ตาม ถึงอย่างนั้นลูกไก่เหล่านั้น ก็ต้องเจาะทำลายเปลือกไข่ ด้วยปลายเล็บหรือจะงอยปากออกมาโดยสวัสดิภาพได้ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕ รวมทั้งความเพียรอันยิ่งอย่างนี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่ายยิ่ง ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การ บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เจโตขีลสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) วิริยสมาธิ @จิตตสมาธิ และวิมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน ในสูตรนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ @(ม.มู.อ. ๑/๑๘๙/๓๙๓) @ ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕ คือ มีการละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ มีการตัดกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ @มีอิทธิบาท ๔ ประการ และมีความเพียรอันยิ่ง ๑ รวมเป็น ๑๕ ประการ (ม.มู.อ. ๑/๑๘๙/๓๙๓) @ ความเบื่อหน่ายยิ่ง หมายถึงการทำลายกิเลสด้วยญาณ (ม.มู.อ. ๑/๑๘๙/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๐๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๙๗-๒๐๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=3449&Z=3630                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=226              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=226&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=10006              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=226&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=10006                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i226-e1.php# https://suttacentral.net/mn16/en/sujato https://suttacentral.net/mn16/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :