ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๓. จูฬมาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรเล็ก
เหตุแห่งอัพยากตปัญหา ๑๐ ประการ
[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิด ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒- เกิดอีก หลังจากตายแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. ๑๔/๑๔๘/๑๓๐-๑๓๑ @ ตถาคต เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้มาก่อนพุทธกาลหมายถึงอัตตา(อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า ในที่ @นี้หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๖๕/๑๐๘, ม.ม.อ. ๒/๑๒๒/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงตอบ ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก จะทูลถามเนื้อความนั้น ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาคต่อไป ถ้าพระผู้มีพระภาค จักไม่ตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจาก ตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด อีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์” [๑๒๓] ครั้นเวลาเย็น ท่านพระมาลุงกยบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า [๑๒๔] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ใน ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่ ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก จะทูลถามเนื้อความนั้น ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาคต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

ถ้าพระผู้มีพระภาคจักไม่ตรัสตอบแก่เราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘โลกเที่ยง’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง หรือ โลกไม่เที่ยง, เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรงๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘โลกมีที่สุด’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิด ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด หรือ โลกไม่มีที่สุด’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรงๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ขอจงตรัส ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ขอจงตรัส ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะ กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรงๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ขอจง ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ ขอจง ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือ หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมา ตรงๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคต จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรงๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น” [๑๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร เราได้พูดไว้อย่างนั้นกับเธอ หรือว่า ‘เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับ สรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม” ท่านพระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า” “ก็หรือว่าเธอได้พูดไว้กับเราอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์ ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม” “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า” “มาลุงกยบุตร ได้ยินว่า เรามิได้พูดไว้กับเธอดังนี้ว่า ‘เธอจงมาประพฤติ พรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ฯลฯ ได้ยินว่า แม้เธอก็มิได้พูด กับเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี พระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ โมฆบุรุษ เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอเป็นใคร จะมาทวงอะไรกับใครเล่า
ทรงอุปมาด้วยบุคคลผู้ต้องศร
[๑๒๖] มาลุงกยบุตร บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มี พระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่ อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต๑- ของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์ ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรา ยังไม่รู้จักคนที่ยิงเราเลยว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร ตราบนั้น เราก็ จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ @เชิงอรรถ : @ ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและเครือญาติของทั้ง ๒ ฝ่าย @สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่หรือตา เป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๗๒, @ม.มู.ฏีกา ๑/๖๕/๓๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า เป็นคนสูง ต่ำ หรือปานกลาง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า เป็นคนผิวดำ ผิวคล้ำ หรือผิวสองสี ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครชื่อโน้น ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นชนิดมีแล่ง หรือชนิดเกาทัณฑ์ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักสายธนูที่เขาใช้ ยิงเราว่า เป็นสายที่ทำด้วยปอ ผิวไม้ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ตราบนั้น เราก็จัก ไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นธนูที่ทำด้วยไม้เกิดเองหรือไม้คัดปลูก ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักหางเกาทัณฑ์ที่เขา ใช้ยิงเราว่า เป็นหางที่เสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตระกรุม นกเหยี่ยว นกยูง หรือ นกปากห่าง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักเกาทัณฑ์ที่เขา ใช้ยิงเราว่า เป็นสิ่งที่เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลิง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัว เขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ ต่อให้บุรุษนั้น ตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบว่า ‘โลก เที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะ กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค’ ต่อให้บุคคลนั้นตายไป ตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน [๑๒๗] มาลุงกยบุตร เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ ก็หามิได้ แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง’ ชาติ(ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ก็ยังคง มีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ ก็หามิได้ เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กัน หรือก็หามิได้ แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด’ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติการกำจัด ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๓๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น คนละอย่างกัน’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัด ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ จักได้มีการ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก ก็มิใช่’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้ มาลุงกยบุตร แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่ เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึง บัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๓. จูฬมาลุกยสูตร

เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาเชิงปรัชญา
[๑๒๘] มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า เป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด ปัญหาอะไรเล่าที่เราไม่ตอบ คือ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราไม่ตอบ เพราะเหตุไรเราจึงไม่ตอบ เพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ คือ ปัญหาว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เราตอบ เพราะเหตุไรเราจึงตอบ เพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อ นิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า เป็นปัญหาที่ เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬมาลุงกยสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๓๓-๑๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=2682&Z=2813                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=147              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=147&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=2659              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=147&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=2659                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i147-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i147-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.063.than.html https://suttacentral.net/mn63/en/sujato https://suttacentral.net/mn63/en/bodhi https://suttacentral.net/mn63/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :