ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

๘. สมณมุณฑิกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร
[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร กับปริพาชกประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ อาศัยอยู่ใน อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็นที่ ประชุมแสดงลัทธิ ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน ได้คิดว่า “บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ บัดนี้ ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียร ทางใจยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ที่อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น ที่ประชุมแสดงลัทธิ” ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะจึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ถึงอารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น ที่ประชุมแสดงลัทธิ
ดิรัจฉานกถา
สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรกำลังนั่งสนทนาอยู่กับ ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนาถึงดิรัจฉานกถา๑- ต่างๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่อง การรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๒๓ (สันทกสูตร) หน้า ๒๖๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

(เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อม อย่างนั้นๆ อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกำลังเดิน มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมา ท่านเป็นสาวกคนหนึ่งบรรดา สาวกของพระสมณโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ผู้อาศัยอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา แนะนำให้พูดกันเบาๆ สรรเสริญคุณของคนที่พูดเสียง เบา บางทีช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทราบว่าบริษัทเสียงเบา ท่านอาจจะเข้ามาหาก็ได้” ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง
วาทะของปริพาชก
[๒๖๑] ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้เข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรได้กล่าวกับช่างไม้ ชื่อปัญจกังคะว่า “ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นผู้มี กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี ใครสู้วาทะได้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคลในโลกนี้ ๑. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่ว ๓. ไม่ดำริความดำริชั่ว ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มี กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี ใครสู้วาทะได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอุคคาหมาน- ปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนาปราศรัย กับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรให้พระผู้มีพระภาคฟังทั้งหมด [๒๖๒] เมื่อช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้ แท้จริง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่กายก็ยังไม่รู้จัก๑- จักทำกรรมชั่ว ทางกายได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงอาการนอนดิ้นรน เด็กอ่อนที่ยังนอน หงายอยู่ แม้แต่วาจาก็ยังไม่รู้จัก๒- จักกล่าววาจาชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงการ ร้องไห้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่ความดำริก็ยังไม่รู้จัก๓- จักดำริชั่วได้แต่ ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีการส่งเสียงร้อง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่การ เลี้ยงชีพก็ยังไม่รู้จัก๔- จักเลี้ยงชีพชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากการดื่มน้ำนมของมารดา ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้ [๒๖๓] ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า มิใช่ผู้มีกุศลเพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควร บรรลุไม่มีใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง @เชิงอรรถ : @ กายก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า กายของตน กายของผู้อื่น (ม.ม.อ. ๒/๒๖๒/๑๙๔) @ วาจาก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า วาจาผิด วาจาชอบ (ม.ม.อ. ๒/๒๖๒/๑๙๔) @ ความดำริก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า ความดำริผิด ความดำริชอบ (ม.ม.อ. ๒/๒๖๒/๑๙๕) @ การเลี้ยงชีพก็ยังไม่รู้จัก หมายถึงไม่รู้จักความแตกต่างว่า อาชีพผิด อาชีพชอบ (ม.ม.อ. ๒/๒๖๒/๑๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ บุรุษบุคคลในโลกนี้ ๑. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่ว ๓. ไม่ดำริความดำริชั่ว ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า มิใช่ผู้มีกุศล เพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี ใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการว่า เป็นผู้มี กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุไม่มี ใครสู้วาทะได้
เสขธรรม
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศล มีสมุฏฐานมาจากจิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง ศีลที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง ศีลที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่ บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคล ควรรู้’ เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง ความดำริที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เสขธรรมว่าด้วยศีล
[๒๖๔] ศีลที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร คือ กายกรรมที่เป็นอกุศล วจีกรรมที่เป็นอกุศล การเลี้ยงชีพที่เป็นบาปเหล่านี้ เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นอกุศล’ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน แห่งศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’ จิตดวงไหนเล่า แท้จริงจิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่มีราคะ จิตที่มี โทสะ และจิตที่มีโมหะ๑- ศีลที่เป็นอกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน @เชิงอรรถ : @ มีราคะได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง มีโทสะได้แก่จิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ๒ ดวง มีโมหะได้แก่ @จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ๒ ดวงก็ถูก แม้อกุศลจิตทุกดวงก็ถูก (ม.ม.อ. ๒/๒๖๔/๑๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในธรรมเหล่านี้๑- ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็น อกุศล [๒๖๕] ศีลที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร คือ กายกรรมที่เป็นกุศล วจีกรรมที่เป็นกุศล และแม้อาชีวะอันบริสุทธิ์ก็ รวมอยู่ในศีล เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นกุศล’ @เชิงอรรถ : @ ธรรมเหล่านี้ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติผล ซึ่งมีศีลคือการสังวรในพระปาติโมกข์ เป็นที่ดับสนิทแห่งศีล @ที่เป็นอกุศล (ม.ม.อ. ๒/๒๖๔/๑๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐานแห่ง ศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’ จิตดวงไหนเล่า แท้จริง จิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่ปราศจากราคะ๑- ที่ปราศจากโทสะ และที่ปราศจากโมหะ ศีลที่เป็นกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุในธรรม- วินัยนี้ เป็นผู้มีศีล แต่หาใช่มีเพียงศีลก็พอ๒- ยังจะต้องรู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล @เชิงอรรถ : @ จิตที่ปราศจากราคะ หมายถึงกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งศีลที่เป็นกุศล @(ม.ม.อ. ๒/๒๖๕/๑๙๖) @ หาใช่มีเพียงศีลก็พอ หมายถึงไม่ทำอะไรให้ยิ่งไปกว่าความเป็นผู้มีศีล (ม.ม.อ. ๒/๒๖๕/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

เสขธรรมว่าด้วยความดำริ
[๒๖๖] ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร คือ ความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นอกุศล’ ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐานแห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’ สัญญาประเภทไหนเล่า แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาในกาม๑- สัญญาในพยาบาท สัญญาในการเบียดเบียน ความดำริที่เป็นอกุศลมีสัญญาเหล่านี้ เป็นสมุฏฐาน ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน๒- ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็น อกุศล บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศล คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น @เชิงอรรถ : @ สัญญาในกาม หมายถึงกามสัญญาที่เกิดพร้อมกับจิตที่สหรคตด้วยโลภจิต ๘ ดวง กามสัญญา ๒ ดวง @นอกจากนี้เกิดพร้อมกับจิต ๒ ดวงที่สหรคตด้วยโสมนัส (ม.ม.อ. ๒/๒๖๖/๑๙๖) @ ปฐมฌาน ในที่นี้หมายถึงปฐมฌานของผู้ได้อนาคามิผล (ม.ม.อ. ๒/๒๖๖/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ ที่เป็นอกุศล [๒๖๗] ความดำริที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร คือ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความ ไม่เบียดเบียน เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นกุศล’ ความดำริที่เป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านั้นเราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน แห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’ สัญญาประเภทไหนเล่า แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาใน เนกขัมมะ สัญญาในความไม่พยาบาท สัญญาในความไม่เบียดเบียน ความดำริที่ เป็นกุศลมีสัญญาเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน ความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว เพราะวิตก วิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดย ไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๘. สมณมุณฑิกสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศล คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ ที่เป็นกุศล
อเสขธรรม ๑๐ ประการ
[๒๖๘] ช่างไม้ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ๑- ไหนว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี ใครสู้วาทะได้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอเสขะ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นอเสขะ ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจา ที่เป็นอเสขะ ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ ที่เป็นอเสขะ ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ ที่เป็นอเสขะ ๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะ ที่เป็นอเสขะ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติ ที่เป็นอเสขะ ๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ ที่เป็นอเสขะ ๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะ๑- ที่เป็นอเสขะ ๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ ที่เป็นอเสขะ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลเพียบ พร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สมณมุณฑิกสูตรที่ ๘ จบ
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสกุลุทายี สูตรเล็ก
[๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อสกุลุทายีพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ ใหญ่อาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้นเวลาเช้า พระผู้มี พระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราควรเข้าไปหา สกุลุทายีปริพาชก จนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปจนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้ เหยื่อแก่นกยูง @เชิงอรรถ : @ สัมมาญาณะ ในสูตรนี้หมายถึงสัมมาทิฏฐินั่นเอง ท่านตรัสไว้เพื่อให้องค์ธรรมบริบูรณ์ และธรรมทั้งหมด @นี้เป็นธรรมชั้นอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๑/๓๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๓๐๗-๓๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=6023&Z=6174                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=356              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=356&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=4876              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=356&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=4876                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i356-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.078.than.html https://suttacentral.net/mn78/en/sujato https://suttacentral.net/mn78/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :