ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. เทวทหวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม
๑. เทวทหสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม
วาทะของนิครนถ์
[๑] ข้าพเจ้า๑- ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะชื่อเทวทหะ แคว้นสักกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ(การบำเพ็ญ @เชิงอรรถ : @ คำว่า ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่นๆ ในเล่มนี้ หมายถึง พระอานนท์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

เพียรอย่างหนัก) เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวง จึงจักเป็นอันสลายไป’๑- นิครนถ์ทั้งหลาย๒- เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหานิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ แล้วถาม อย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตาม อำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะ ทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ จริงหรือ’ นิครนถ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ยังปฏิญญาว่า ‘ใช่’ เราจึงถามนิครนถ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ทราบหรือว่า ‘เราทั้งหลายได้มีแล้วในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ นิครนถ์เหล่านั้นตอบว่า ‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’ ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบหรือว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำ บาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ ‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’ ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบหรือว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำ บาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’ ‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๗๙/๑๘๒, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๕/๒๙๗ @ นิครนถ์ทั้งหลาย หมายถึงนักบวชนอกพุทธศาสนาพวกหนึ่งมีนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิ @(ที.สี. (แปล) ๙/๑๗๖/๕๘-๕๙) นักบวชเหล่านี้เรียกตัวเองว่านิครนถ์ เพราะปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลส @เครื่องผูกพันไว้ในวัฏฏสงสาร (ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑, ม.มู.ฏีกา ๒/๓๑๒/๒๒๑) นักบวชเหล่านี้ @เมื่อเจ้าลัทธิตายแล้วก็แตกเป็น ๒ พวก (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๑/๒๔๙, ที.ปา.อ. ๓/๑๖๔/๙๔, @ม.อุ.อ. ๓/๔๑/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบหรือว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้ สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้ สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ ‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’ ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบการละอกุศลธรรมและการ บำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบันหรือ’ ‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’ [๒] ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายไม่ทราบดังนี้ว่า ‘เรา ทั้งหลายได้มีแล้วในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’ ไม่ทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ ท่านทั้งหลายไม่ทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไม่ควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข บ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้ อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนา สิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้มีแล้ว ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

พึงทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้ สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ ท่านทั้งหลายพึงทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน๑- เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวย สุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตก อยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรม จึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ [๓] นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ อย่างร้ายแรง เพราะเหตุแห่งการถูกลูกศรแทง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต๒- ของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอ ผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผลของบุรุษนั้น เพราะเหตุแห่งการใช้มีดผ่าปากแผล บุรุษ นั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงใช้เครื่องมือตรวจหาลูกศร (ในแผล)ของเขา เพราะเหตุแห่งการตรวจหาลูกศร บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนา กล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงถอนลูกศรออก เพราะเหตุแห่งการถอนลูกศรออก บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เพราะเหตุแห่งการใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ต่อมา เพราะบาดแผลหาย มีผิวหนังเรียบสนิท บุรุษนั้นจึงหายโรค มีความสุข มีความเสรี อยู่ตามลำพังได้ เดินได้ตามปรารถนา เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อนเรา ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษอย่างร้ายแรง เพราะเหตุแห่งการถูกลูกศรแทง เรานั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๘๐/๑๘๓ @ ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและเครือญาติของทั้ง ๒ ฝ่าย สาโลหิต @หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ บิดามารดา ปู่หรือตา เป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๗๒, @ม.มู.ฏีกา ๑/๖๕/๓๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

ได้เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเราจึงหาหมอ ผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผลของเรา เพราะเหตุแห่งการใช้มีด ผ่าปากแผล เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงใช้เครื่องมือ ตรวจหาลูกศร(ในแผล)ของเรา เพราะเหตุแห่งการตรวจหาลูกศร เรานั้นได้เสวย ทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นได้ถอนลูกศรออก เพราะเหตุแห่งการ ถอนลูกศรออก เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นใส่ยาถอน พิษที่ปากแผล เพราะเหตุแห่งการใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เรานั้นได้เสวย ทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน บัดนี้ เพราะบาดแผลหาย มีผิวหนังเรียบสนิท เรานั้น จึงหายโรค มีความสุข มีความเสรี อยู่ตามลำพังได้ เดินได้ตามปรารถนา’ แม้ฉันใด นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้มีแล้ว ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’ พึงทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้ สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ ท่านทั้งหลายพึงทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ใน ชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้ อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายไม่ทราบว่า ‘เรา ทั้งหลายได้มีแล้วในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’ ไม่ทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้ สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอัน สลายไป’ ท่านทั้งหลายไม่ทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลายใน ปัจจุบัน ฉะนั้น นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไม่ควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวย สุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตก อยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรม จึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ [๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกับ เราว่า ‘ท่านผู้มีอายุ นิครนถ์ นาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ธรรมทั้งปวง) เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะ๑- อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ นิครนถ์ นาฏบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย บาปกรรมที่ท่านทั้งหลายทำไว้ในชาติก่อนมีอยู่ ท่าน ทั้งหลายจงสลัดบาปกรรมนั้น ด้วยปฏิปทาที่ทำได้ยากเผ็ดร้อนนี้ การที่ท่าน ทั้งหลายสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ในบัดนี้นั้น ชื่อว่าเป็นการไม่กระทำ บาปกรรมต่อไป เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตก อยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรม จึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ คำที่นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวแล้วนั้นถูกใจ และชอบใจข้าพเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย จึงมีใจยินดี‘๒- @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ หมายถึงความรู้และความเห็นตรงตามเป็นจริง อาจเรียกว่า มรรคญาณ ผลญาณ @สัพพัญญุตญาณ ปัจจเวกขณญาณ หรือวิปัสสนาญาณก็ได้ (ที.สี.อ. ๑/๒๓๔/๑๙๘) @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๗๙/๑๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

[๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิครนถ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับ นิครนถ์เหล่านั้นว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้มีผล ๒ อย่างในปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ศรัทธา (ความเชื่อ) ๒. รุจิ (ความชอบใจ) ๓. อนุสสวะ (การฟังตามกันมา) ๔. อาการปริวิตก (ความตรึกตามอาการ) ๕. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้) นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ มีผล ๒ อย่างในปัจจุบัน๑- บรรดาธรรมทั้ง ๕ ประการนั้น นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายมีความเชื่อ มี ความชอบใจ มีการฟังตามกันมา มีความตรึกตามอาการ มีความเข้ากันได้กับ ทฤษฎีที่พินิจไว้ ในศาสดาผู้มีวาทะที่เป็นส่วนอดีต อย่างไร’ ภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้ ก็ไม่พิจารณาเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบ ธรรมแม้สักนิดในนิครนถ์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เรากล่าวกับนิครนถ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือสมัยใด ท่านทั้งหลายมีความพยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายาม อย่างแรงกล้า แต่สมัยใด ท่านทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มี ความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายก็ไม่พึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ด ร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๔๒๘/๕๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

นิครนถ์เหล่านั้นรับว่า ‘ท่านพระโคดม สมัยใด ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความ พยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า แต่ สมัยใด ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ไม่เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความ เพียรพยายามอย่างแรงกล้า’ [๖] เรากล่าวดังนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า สมัยใด ท่าน ทั้งหลายมีความพยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่าง แรงกล้า แต่สมัยใด ท่านทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความ เพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายก็ไม่พึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุ ทั้งหลายจึงไม่ควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวย อทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรม เก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวง จึงจักเป็นอันสลายไป’ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสมัยใด ท่านทั้งหลายมีความพยายามอย่าง แรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิด จากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า พึงหยุดได้เอง แต่สมัยใด ท่านทั้งหลาย ไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนา กล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า พึงหยุดได้เอง เมื่อ เป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ใน ชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้ อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนา สิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่สมัยใด ท่านทั้งหลายมีความ พยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึง เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า แต่ สมัยใด ท่านทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายก็ไม่พึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความ เพียรพยายามอย่างแรงกล้า ท่านทั้งหลายเมื่อเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่ง เกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า ย่อมเชื่อผิดไป เพราะไม่รู้แจ้ง เพราะ ไม่รู้จริง เพราะความงมงายว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวย อทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรม เก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวง จึงจักเป็นอันสลายไป’ ภิกษุทั้งหลาย เราแม้มีวาทะอย่างนี้ ก็ไม่พิจารณาเห็นการโต้ตอบวาทะอัน ชอบธรรมแม้สักนิดในนิครนถ์ทั้งหลาย [๗] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เราถามนิครนถ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ กรรมใด ให้ผลในชาตินี้๑- กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลในชาติหน้า’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ @เชิงอรรถ : @ กรรมใดให้ผลในชาตินี้ หมายถึงทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือกรรมที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน จะเป็นกรรมดี @หรือกรรมชั่วก็ตาม ถ้ากระทำในขณะแห่งชวนจิตดวงแรก ในบรรดาชวนจิตทั้ง ๗ แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ ได้แก่ @ปฐมชวนเจตนา กรรมนี้ให้ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาตินี้ จะกลายเป็นอโหสิกรรม @เหตุที่ให้ผลได้เฉพาะในชาตินี้ เพราะเป็นเจตนาที่ประกอบกับชวนะดวงแรก ยังไม่ถูกกรรมอื่นๆ ครอบงำ @เพิ่งเริ่มต้นการปรุงแต่ง จึงมีกำลังแรงแต่ให้ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น ไม่ให้ผลในชาติหน้า คือ ถ้าทำ @กรรมนี้ในปฐมวัย กรรมนี้ก็จะให้ผลในปฐมวัย มัชฌิมวัย หรือในปัจฉิมวัย ถ้าทำในมัชฌิมวัย กรรมนี้ @จะให้ผลในมัชฌิมวัย หรือในปัจฉิมวัย ถ้าทำในปัจฉิมวัย กรรมนี้ก็จะให้ผลในปัจฉิมวัยนั้นเอง ทั้งนี้ @เพราะขาดอาเสวนปัจจัย ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนี้จึงจัดว่ามีผลเพียงเล็กน้อย เปรียบเหมือนนายพราน @พอเห็นเนื้อก็หยิบธนูยิงไปทันที ถ้าถูกเนื้อก็ล้มลงในที่นั้น ถ้าไม่ถูก เนื้อก็รอดไปได้ (ม.อุ.อ. ๓/๗/๓, @องฺ.ติก.อ. ๒/๓๔/๑๑๗, วิสุทฺธิ. ๒/๖๘๕/๒๖๖, วิสุทฺธิ.ฏีกา ๒/๖๘๕/๔๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

นิครนถ์เหล่านั้นตอบว่า ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘กรรมใดจะให้ผลในชาติหน้า กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จง ให้ผลในชาตินี้’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ กรรมใดให้ผลเป็นสุข กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลเป็นทุกข์’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ ผลเป็นสุข’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ กรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงอย่าให้ ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘กรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จง ให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ กรรมใดให้ผลมาก กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลน้อย’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

‘กรรมใดให้ผลน้อย กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลมาก’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ กรรมใดให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงอย่าให้ผล’ ด้วย ความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’ ‘กรรมใดไม่ให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผล’ ด้วย ความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’ ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
ความพยายามที่ไร้ผล ความเพียรที่ไร้ผล ๑๐ ประการ
[๘] นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ๑. กรรมใดให้ผลในชาตินี้ กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ ผลในชาติหน้า’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๒. กรรมใดจะให้ผลในชาติหน้า กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ผลในชาตินี้’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๓. กรรมใดให้ผลเป็นสุข กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ ผลเป็นทุกข์’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๔. กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ ผลเป็นสุข’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๕. กรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงอย่าให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๖. กรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๗. กรรมใดให้ผลมาก กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ ผลน้อย’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๘. กรรมใดให้ผลน้อย กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ ผลมาก’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๙. กรรมใดให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงอย่าให้ผล’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ ๑๐. กรรมใดไม่ให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ผล’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความพยายาม ความเพียรของนิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไร้ผล’ ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่ กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จะเป็น เหตุให้ถูกตำหนิได้ [๙] ภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็น เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๒. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นต่ำเนรมิตมาแน่ จึงเป็น เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๓. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีเคราะห์ร้ายแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๔. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ๑- นิครนถ์ทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ @เชิงอรรถ : @ อภิชาตินี้มี ๒ ประการ คือ @๑. อภิชาติที่ปูรณะ กัสสปะ บัญญัติไว้มี ๖ ประการ คือ @๑.กัณหาภิชาติ ผู้ที่มีชาติดำ ได้แก่ คนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่านก พรานเนื้อ ชาวประมง โจร @เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำหรือคนงานชั้นต่ำและหยาบช้า @๒.นีลาภิชาติ ผู้ที่มีชาติเขียว ได้แก่ พวกภิกษุที่ฝักใฝ่ในธรรมฝ่ายดำ พวกกรรมวาทะตลอดจน @พวกกิริยวาทะอื่นๆ @๓.โลหิตาภิชาติ ผู้มีชาติแดง ได้แก่ พวกนิครนถ์ที่ใช้ผ้าผืนเดียว @๔.หลิททาภิชาติ ผู้มีชาติเหลือง ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้สวมใส่ผ้าขาวซึ่งเป็นสาวกของพวกอเจลก (นักบวช @เปลือยกาย) @๕.สุกกาภิชาติ ผู้มีชาติขาว ได้แก่ นักบวชที่เรียกตัวเองว่าอาชีวกและอาชีวิกา @๖.ปรมสุกกาภิชาติ ผู้มีชาติขาวอย่างยิ่ง ได้แก่ เจ้าลัทธิชื่อนันทวัจฉโคตร, สังกิจจโคตร และมักขลิ @โคสาล @๒. อภิชาติที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้มี ๖ ประการ คือ @๑.บุคคลผู้มีชาติดำและประพฤติธรรมดำ ได้แก่ ผู้ที่เกิดในตระกูลคนจัณฑาล เป็นต้น แล้วยัง @ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในอบายภูมิ @๒.บุคคลผู้มีชาติดำแต่ประพฤติธรรมขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในตระกูลคนจัณฑาล เป็นต้น แต่เขา @ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในสุคติภูมิ @๓.บุคคลผู้มีชาติดำแต่บรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในตระกูลคนจัณฑาล @แต่พวกเขาออกบวชเป็นบรรพชิต ละนิวรณ์ได้ เจริญสติปัฏฐานและโพชฌงค์จนตรัสรู้ธรรมตาม @ความเป็นจริง และบรรลุนิพพานในที่สุด @๔.บุคคลผู้มีชาติขาวแต่ประพฤติธรรมดำ ได้แก่ ผู้ที่เกิดในขัตติยตระกูล เป็นต้น แล้วประพฤติ @ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในอบายภูมิ @๕.บุคคลผู้มีชาติขาวและประพฤติธรรมขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในขัตติยตระกูล เป็นต้น แล้วประพฤติ @สุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นตายแล้วย่อมบังเกิดในสุคติภูมิ @๖.บุคคลผู้มีชาติขาวและบรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ ผู้ที่เกิดในขัตติยตระกูล @เป็นต้น แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต ละนิวรณ์ได้ เจริญสติปัฏฐานและโพชฌงค์จนตรัสรู้ธรรม @ตามเป็นจริงและบรรลุนิพพานในที่สุด (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๙/๓๒๙, @องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๗/๕๔๓-๕๔๗) @ในที่นี้หมายเอา อภิชาติ ๖ ที่ปูรณะ กัสสปะ บัญญัติไว้ (ม.อุ.อ. ๓/๙/๖, ม.อุ.ฏีกา ๓/๙/๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๕. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้มีความพยายามเลวทรามในปัจจุบันแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๖. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข และทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายก็ เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๗. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข และทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๘. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๙. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์ ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ ๑๐. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข และทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่ไร้ผล ความเพียรที่ไร้ผล เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

[๑๐] ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่นำตนซึ่งไม่มีทุกข์เข้าไปรับทุกข์ ไม่สละสุขที่เกิดขึ้น โดยธรรม๑- ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในสุขนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรานี้มีทุกข์เป็นเหตุ เริ่ม บำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร อนึ่ง เรา นี้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้’ ภิกษุนั้นเริ่มบำเพ็ญความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ ผู้เริ่มบำเพ็ญ ความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร ภิกษุนั้นเจริญ อุเบกขาอย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นหตุนั้น เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ เพราะการบำเพ็ญความเพียร ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วย อาการอย่างนี้ ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุนั้น มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วยอาการอย่างนี้” [๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้หลง รัก มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนคุยออด อ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) พึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่นบ้างไหม” ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “พึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” @เชิงอรรถ : @ สุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม หมายถึงความสุขที่เกิดจากปัจจัย ๔ คือ (๑) อาหารบิณฑบาต (๒) เครื่อง @นุ่งห่ม (๓) ที่อยู่อาศัย (๔) ยารักษาโรค ที่เกิดขึ้นจากสงฆ์ หรือจากคณะ (ม.อุ.อ. ๓/๑๐/๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

“เพราะชายคนโน้นหลงรัก มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อใน หญิงคนโน้น ฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้น เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ชายนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘เราหลงรัก มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อในหญิงคนโน้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส จึงเกิดขึ้นแก่เรา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น ทางที่ดี เราควรเลิกรักหญิงที่เราหลงรักนั้นเสีย’ เขาจึงเลิกรักหญิงที่เคยหลงรัก นั้นเสีย สมัยต่อมา บุรุษนั้นเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่นบ้างไหม” “ไม่พึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะชายคนโน้นคลายความรักในหญิงคนโน้นได้แล้ว ฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้นเพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะ อยู่กับชายอื่น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่นำตนซึ่งไม่มีทุกข์เข้าไปรับทุกข์ ไม่สละสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในสุขนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรานี้มี ทุกข์เป็นเหตุ เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ เพราะการบำเพ็ญ ความเพียร อนึ่ง เรานี้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลาย กำหนัดได้’ ภิกษุนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ ผู้เริ่มบำเพ็ญ ความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร ภิกษุนั้นเจริญ อุเบกขาอย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลาย กำหนัดได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุนั้น เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ เพราะการบำเพ็ญความเพียร ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วย อาการอย่างนี้ ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ [๑๒] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อเรา อยู่ตามสบาย อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ใน ความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ทางที่ดี เราควรเริ่มตั้งตน ไว้ในความลำบาก’ ภิกษุนั้นจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อภิกษุนั้นเริ่มตั้งตน ไว้ในความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้น จึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของ เธอสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ช่างศรลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรง จนใช้การได้ เพราะเหตุที่ลูกศรอันช่างศรลนกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศรนั้นจึงไม่ลนลูกศรนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะช่างศรนั้นพึงลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้ การได้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเขาสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา ช่างศรนั้นจึงไม่ลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน ไม่ต้องดัดให้ตรงจนใช้การได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ทางที่ดี เราควรเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

ภิกษุนั้นจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้อง เริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น ของเธอสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ [๑๓] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคต๑- อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒- ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๓- รู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้ง @เชิงอรรถ : @ ตถาคต ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค บัณฑิตเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะเหตุ ๘ ประการ คือ (๑) @เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒) เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น (๓) เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง (๔) @เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามความเป็นจริง (๕) เพราะทรงเห็นจริง (๖) เพราะตรัสวาจาจริง (๗) @เพราะทรงทำจริง (๘) เพราะทรงครอบงำ (ผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก) @(ม.มู.อ. ๑/๑๒/๕๐) @ ชื่อว่า เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ ดังนี้ วิชชา ๓ คือ (๑) @ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติ(ตาย)และอุบัติ(เกิด)ของสัตว์ @(๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็นวิปัสสนา @(๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ @กำหนดรู้จิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ @หรือเรียกว่าจุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา @ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จัก @ประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา @(๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง @(๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) @ ชื่อว่า เป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบ @ด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จ @ประโยชน์ตามต้องการและความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม @(๖) ทรงคลายตัณหาในภพทั้ง ๓ (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว @(๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๑- ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรมนั้น เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธา ย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด๒- เป็นทางมาแห่งธุลี๓- การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๔- การที่ ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำ ได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเถิด’ ต่อมาเขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อย ใหญ่ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
สิกขาและสาชีพของภิกษุ
[๑๔] ภิกษุนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขาและสาชีพ๕- ของภิกษุ ทั้งหลาย คือ @เชิงอรรถ : @ ความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล ความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค ความงามในที่สุด @หมายถึงนิพพาน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๕๙) @ การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เพราะไม่มีเวลาว่างที่จะทำกุศลกรรมได้อย่างสะดวก แม้เรือนมีเนื้อที่ @กว้างขวางถึง ๖๐ ศอก มีบริเวณภายในบ้านตั้ง ๑๐๐ โยชน์ มีคนอยู่อาศัย ๒ คน คือ สามี @ภรรยา ก็ยังถือว่าคับแคบ เพราะต้องคอยห่วงใยและกังวลต่อกัน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓, @สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๐๑, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๑) @ เป็นทางมาแห่งธุลี เพราะเป็นที่เกิดและเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันทำจิตให้เศร้าหมอง เช่น ราคะ เป็นต้น @(ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓, สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๐๑, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๒) @ การบวช ชื่อว่าปลอดโปร่ง เพราะนักบวชแม้จะอยู่ในเรือนยอด ปราสาทแก้ว หรือเทพวิมาน ซึ่งมีประตู @หน้าต่างปิดมิดชิด ก็ยังถือว่าปลอดโปร่ง เพราะนักบวชไม่มีความยึดติดในสิ่งใดๆ ทั้งยังมีเวลาว่างที่ @จะทำกุศลกรรมได้อย่างสะดวกอีกด้วย (ที.สี.อ. ๑/๑๙๑/๑๖๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๑-๔๒๒) @ สิกขา ในที่นี้หมายถึงอธิสีลสีกขาของภิกษุทั้งหลาย สาชีพ หมายถึงสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง @บัญญัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ร่วมกัน ผู้ดำเนินชีวิตร่วมกัน มีความประพฤติเสมอกัน (ม.มู.อ. ๒/๒๙๒/๑๑๓, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๒, และดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕/๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือ รับเอา แต่สิ่งของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่สิ่งของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคน สะอาดอยู่ ๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์๑- คือ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๒- อันเป็นกิจของชาวบ้าน ๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่ง เสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี ๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่ อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ แปลว่าความประพฤติประเสริฐ มี ๑๒ ประการ คือ (๑) ทาน การให้ (๒) ไวยาวัจจะ @การขวนขวายช่วยเหลือ (๓) ปัญจสิกขาบท ศีล ๕ (๔) พรหมวิหาร การประพฤติพรหมวิหาร (๕) @ธรรมเทศนา (๖) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (๗) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครอง @ของตน (๘) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ (๙) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (๑๐) ศาสนาที่รวมไตรสิกขา @(๑๑) อัธยาศัย (๑๒) วิริยะ ความเพียร แต่ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๖๐, @ม.มู.อ. ๑/๑๕๕/๓๖๒-๓๖๔) @ เมถุนธรรม หมายถึงการร่วมประเวณี การเสพสังวาส กล่าวคือ การเสพอสัทธรรมอันเป็นประเวณีของ @ชาวบ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่จะต้องทำในที่ลับ เป็นการกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ @(วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑- และภูตคาม๒- ๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓- ๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น ที่เป็นข้าศึกแก่กุศล ๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว ๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ ๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน ๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔- ๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ ๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี ๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย ๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ ๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร ๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา ๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน @เชิงอรรถ : @ พืชคาม หมายถึงพืชพันธุ์จำพวกที่ถูกพรากจากที่แล้ว ยังสามารถงอกขึ้นได้อีก (ที.สี.อ. ๑/๑๑/๗๘, @ม.มู.อ. ๒/๒๙๓/๑๑๖) @ ภูตคาม หมายถึงของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเกิดอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ (๑) พืชที่เกิดจากเหง้า เช่น @กระชาย (๒) พืชที่เกิดจากต้น เช่น โพธิ์ (๓) พืชที่เกิดจากตา เช่น อ้อย (๔) พืชที่เกิดจากยอด @เช่น ผักชี (๕) พืชที่เกิดจากเมล็ด เช่น ข้าว (ที.สี.อ. ๑/๑๑/๗๘, ม.มู.อ. ๒/๒๙๓/๑๑๖) @ ฉันในเวลาวิกาล คือ เวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง ในที่นี้หมายถึงผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลัง @เที่ยงวันจนถึงเวลาอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑/๑๐/๗๕, ม.มู.อ. ๒/๒๙๓/๑๑๖) @ ธัญญาหารดิบ ในที่นี้หมายถึงธัญชาติ ๗ ชนิด คือ (๑) ข้าวสาลี (๒) ข้าวเปลือก (๓) ข้าวเหนียว @(๔) ข้าวละมาน (๕) ข้าวฟ่าง (๖) ลูกเดือย (๗) หญ้ากับแก้ (ม.มู.อ. ๒/๒๙๓/๑๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร ๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย ๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง ตวงวัด ๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง ๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก๑- ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ เธอ ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์เช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน [๑๕] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๒- ไม่แยกถือ๓- ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ... ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ... @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๙๔-๒๔๘/๖๕-๘๔ @ รวบถือ หมายถึงมองภาพด้านเดียว คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือชาย เห็นว่ารูปสวย เสียง @ไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่มเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑/๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ แยกถือ หมายถึงมองภาพ ๒ ด้าน คือมองแยกแยะเป็นส่วนๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้า @ว่าสวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารัก หรือไม่น่ารัก @ถ้าเห็นว่าสวยน่ารักก็เกิดอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารักก็เกิดอนิฏฐารมณ์ @(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) (อภิ.สงฺ.อ. ๑/๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบ ด้วยอริยอินทรียสังวรเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง [๑๖] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริย- สติสัมปชัญญะแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ แล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็ง อยากได้สิ่งของของเขา) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) มีจิตปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา(ความลังเล สงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอนกำลังปัญญา
ปฐมฌาน
ภิกษุนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

ทุติยฌาน
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
ตติยฌาน
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
จตุตถฌาน
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่๑- ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ [๑๗] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒- ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๒๖-๒๓๒/๗๕-๗๗ @ กิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) หมายถึง ราคะ โทสะ โมหะ มลทินหรือเปือกตม ในที่บางแห่งหมายถึง @พื้นที่เป็นเนินตามที่พูดกันว่า เนินโพธิ์ เนินเจดีย์ เป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๕๗/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑- เป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ใน ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี อายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติ จากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะ ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ [๑๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒- แต่หมู่สัตว์ที่ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น ชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะ ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ สังวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม คือช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ @คือช่วงระยะเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘) @ ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความงอกงาม คือไม่มีความเจริญหรือความสุข ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็น @คติคือเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว ชื่อว่า นรก @เพราะปราศจากความยินดีเหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ (ม.มู.อ. ๑/๑๕๓/๓๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

[๑๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ๑- นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๓- ไม่มีกิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๔- ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ [๒๐] ภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตพึงเป็นผู้ทำกรรมดีไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคต เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ @เชิงอรรถ : @ อาสวะ หมายถึงกิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซาบไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ @มี ๔ ประการ คือ (๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม (๒) ภวาสวะ อาสวะคือภพ (๓) ทิฏฐาสวะ @อาสวะคือทิฏฐิ (๔) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗) แต่ใน @พระสูตรท่านจัดอาสวะเป็น ๓ โดยสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ (ม.มู.อ. ๑/๑๔/๖๘) @ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นบริบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะ @ต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, @ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘) @ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดแห่งทุกข์ @การทำให้แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, @ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความหมดสิ้น @แห่งกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่า การบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด @(ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓, ม.มู.อ. ๑/๕๔/๑๓๘), ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๖-๓๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑. เทวทหสูตร

๒. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นสูงเนรมิตมาแน่ จึงเป็นเหตุให้ ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๓. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น ผู้มีเคราะห์กรรมดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มี อาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๔. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น ผู้มีอภิชาติดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ เห็นปานนี้ในบัดนี้ ๕. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตพึงเป็นผู้มีความพยายามดีในปัจจุบันแน่ จึงเป็นเหตุให้ ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้ ๖. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๗. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๘. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง เคราะห์ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ ๙. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง อภิชาติ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๒. ปัญจัตตยสูตร

๑๐. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะ เหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ๑- ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เทวทหสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปัญจัตตยสูตร
ว่าด้วยความเห็นผิด ๕ ประการ ๓ หมวด
วาทะเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอนาคต
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์(สรรพสิ่ง)ส่วนอนาคต มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะ แสดงทิฏฐิต่างๆ คือ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญา ยั่งยืนหลังจาก ตายแล้ว‘๒- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๙ (เทวทหสูตร) หน้า ๑๒-๑๔ ในเล่มนี้ @ ทิฏฐินี้เรียกว่า สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตามีสัญญา) มี ๑๖ ลัทธิ ดูเทียบ @ที.สี. (แปล) ๙/๗๕-๗๖/๓๐-๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑-๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=1&items=27              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=1&items=27              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i001-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.101.than.html https://suttacentral.net/mn101/en/sujato https://suttacentral.net/mn101/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :