ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๘. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลส
[๒๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการทะเลาะวิวาท ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการ ทะเลาะเกิดการวิวาท ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ขอประทานวโรกาส ขอ พระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุเหล่านั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัส กับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าบาดหมาง อย่า ทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี (เจ้าของธรรม) โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมใน ปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาทนั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย” ภิกษุรูปนั้นได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรง ขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาท นั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า” แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย” ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้ มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวาย น้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ ปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาทนั้นเอง พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพีแล้ว เสด็จกลับ จากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือ บาตรและจีวรประทับยืนอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า [๒๓๗] “ภิกษุทั้งหลายต่างส่งเสียงดังพร้อมกัน ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น ไม่มีเลยสักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น เธอทั้งหลายขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต เท้าคารมพูดได้ตามที่ตนปรารถนา จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า ‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’ เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า ‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’ เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ เพราะว่าในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร๑- แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร๒- นี้เป็นธรรมเก่า๓- @เชิงอรรถ : @ เวร นอกจากจะไม่สงบระงับแล้ว ยังกลับเพิ่มพูนเวรต่อกันให้มากขึ้น เปรียบเหมือนการใช้น้ำสกปรก @ชำระล้างสิ่งสกปรก ก็ยิ่งเพิ่มพูนความสกปรกมากขึ้นฉะนั้น (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๗) @ การไม่จองเวร หมายถึงธรรมคือขันติ เมตตา โยนิโสมนสิการ(การพิจารณาโดยแยบคาย) และ @ปัจจเวกขณะ (การพิจารณา) (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๗) @ เป็นธรรมเก่า หมายถึงเป็นทางปฏิบัติเพื่อสงบระงับเวรที่ประพฤติสืบๆ กันมาของพระพุทธเจ้า @พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

ชนเหล่าอื่น๑- ไม่รู้ชัดว่า ‘พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้’ ส่วนชนเหล่าใด๒- ในหมู่นั้น รู้ชัดความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น ชนทั้งหลายบั่นกระดูกฆ่ากัน ลักทรัพย์คือโคและม้า ช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก ไฉนเธอทั้งหลายจึงคบหากันไม่ได้เล่า ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตนเที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี๓- เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ เพราะคุณเครื่องความเป็นสหาย๔- ไม่มีในคนพาล @เชิงอรรถ : @ ชนเหล่าอื่น หมายถึงคนที่สร้างความแตกแยกในหมู่นั้น ซึ่งไม่ใช่บัณฑิต (ม.อุ.อ. ๓/๒๓๗/๑๔๙, @ขุ.ธ.อ. ๑/๖๐) @ ชนเหล่าใด หมายถึงบัณฑิต (ม.อุ.อ. ๓/๒๓๗/๑๔๙, ขุ.ธ.อ. ๑/๖๐) และดูเทียบ @ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๖/๒๕ @ สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ @และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑/๔๓๓) @ คุณเครื่องความเป็นสหาย หมายถึงคุณธรรมเหล่านี้ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กถาวัตถุ ๑๐ @ธุดงค์คุณ ๑๓ วิปัสสนาญาณ มรรค ๔ ผล ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ อมตมหานิพพาน @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้เดียวไม่พึงทำความชั่ว เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า”๑- [๒๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับยืนตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไป ยังบ้านพาลกโลณการคาม สมัยนั้น ท่านพระภคุพักอยู่ที่บ้านพาลกโลณการคาม ได้เห็นพระผู้มี พระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงได้จัดที่ประทับ ตั้งน้ำล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงล้างพระบาท ฝ่ายท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระภคุว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ เป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ” ท่านพระภคุกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบาก ด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน๒- สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ พักอยู่ ที่ป่าปาจีนวังสทายวัน นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านอย่าเข้าไปในป่านี้เลย ในป่านี้มีกุลบุตร ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์ตนอยู่ ท่านอย่าได้รบกวนกุลบุตรทั้ง ๓ นั้นเลย” ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลว่า “นายทายบาล ท่าน อย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย เสด็จมาถึงแล้ว” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๔/๓๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑-๑๓๒/๔๓๓-๔๓๔, @ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๓๒๘-๓๓๐/๑๓๕-๑๓๖, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๗-๑๙/๓๐๓ @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๕๗-๔๖๔/๓๔๑-๔๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

[๒๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่าน พระกิมพิละถึงที่อยู่ แล้วได้บอกว่า “รีบไปกันเถิดท่าน รีบไปกันเถิดท่าน พระผู้มี พระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จมาถึงแล้ว” ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละได้ต้อนรับพระผู้มี พระภาค คือ รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูพุทธอาสน์ รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ทรงล้างพระบาทแล้ว พระเถระทั้ง ๓ รูปนั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ” “ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่หรือ” “ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่ วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเป็นผู้สามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างไร” “ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอัน ประกอบด้วยเมตตา ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความ คิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

ความนึกคิดของท่านเหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตาม อำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า” แม้ท่านพระนันทิยะ ฯลฯ แม้ท่านพระกิมพิละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ ข้าพระองค์ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้ อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่าน เหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอัน เดียวกัน ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนม กับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า” [๒๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ อนึ่ง เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่หรือ” “ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ กายและใจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างไร” “ขอประทานวโรกาส บรรดาข้าพระองค์ทั้งหลาย รูปใดกลับจากบิณฑบาต จากบ้านก่อน รูปนั้นย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ รูปใด กลับจากบิณฑบาตจากบ้านในภายหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หาก ประสงค์ก็ฉัน หากไม่ประสงค์ก็เททิ้งบนพื้นที่ที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำ ที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นเก็บงำอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ ล้างถาดสำรับเก็บไว้ กวาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

โรงอาหาร รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้น ก็นำไปตั้งไว้ ถ้าเหลือวิสัยของท่าน ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกวักมือเรียกรูปที่ ๒ มาช่วยกันยกหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำใช้ไปตั้งไว้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ปริปากบ่น เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย และข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนาธรรมีกถาตลอดคืน ยันรุ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า” [๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เมื่อเธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ญาณทัสสนะ ที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก ที่เธอทั้งหลายได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือ”๑- ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย จึงแทงตลอดนิมิตนั้นไม่ได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เธอทั้งหลายต้อง แทงตลอดนิมิตนั้นได้แน่ จะเล่าให้ฟังว่า ก่อนแต่การตรัสรู้ ๑. แม้เรายังไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ขณะที่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อม จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้เหมือนกัน แต่ไม่นาน แสงสว่าง และการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรา นั้นได้คิดว่า ‘วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะวิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาจะไม่เกิดแก่เราอีก’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๒๕-๓๒๘/๓๕๗-๓๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

๒. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึง จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นาน แสงสว่างและการเห็น รูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า ‘อมนสิการ(การไม่ใส่ใจ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอมนสิการเป็น เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ การเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะ ไม่เกิดแก่เราอีก’ ๓. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ถีนมิทธะเกิดขึ้น แล้วแก่เรา เพราะถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะจะไม่เกิดแก่เราอีก’ ๔. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความสะดุ้งกลัว เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล ที่สองข้างทางเกิดมีคนปอง ร้ายเขา เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความสะดุ้งกลัว แม้ฉันใด ความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และความสะดุ้งกลัวจะไม่เกิดแก่ เราอีก’ ๕. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความปลาบปลื้ม เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเรา จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง หายไป’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษผู้แสวงหาขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่ง ขุมทรัพย์ ๕ แห่งในคราวเดียวกัน เพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ ๕ แห่งนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความปลาบปลื้ม แม้ฉันใด ความ ปลาบปลื้มเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความ ปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว และความปลาบปลื้มจะไม่ เกิดขึ้นแก่เราอีก’ ๖. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความชั่วหยาบ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม และความชั่วหยาบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’ ๗. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่ บำเพ็ญเกินไปเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง และการเห็นรูปจึงหายไป เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้น ต้องถึงความตายในมือของบุรุษนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด ความเพียรที่ บำเพ็ญเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความ ปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ และความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปจะไม่ เกิดขึ้นแก่เราอีก’ ๘. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่ หย่อนเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่หย่อนเกิน ไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสง สว่างและการเห็นรูปจึงหายไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มหลวมๆ นกคุ่มนั้น ย่อมบินไปจากมือเขาได้ แม้ฉันใด ความเพียรที่หย่อนเกินไปได้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความเพียรที่หย่อน เกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความ ชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป และความเพียรที่หย่อนเกิน ไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’ ๙. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ตัณหาที่คอย กระซิบได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อนเกินไป และตัณหาที่คอย กระซิบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’ ๑๐. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘นานัตตสัญญาได้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะนานัตตสัญญาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และนานัตต- สัญญาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’ ๑๑. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำ แสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย แสงสว่างและการเห็น รูปนั้น ก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะลักษณะที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

เพ่งรูปมากเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่ วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อน เกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ นานัตตสัญญา และลักษณะที่เพ่งรูป มากเกินไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
[๒๔๒] เรานั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลส(ธรรมเครื่องเศร้าหมอง)แห่งจิต’ แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑- รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๗๒/๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหา ที่คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ [๒๔๓] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เพราะเรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป เพราะเราเห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ กลางวันบ้าง เรานั้นจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปได้ แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’ เรานั้นคิดว่า ‘สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป แต่สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูป แต่จำ แสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ กลางวันบ้าง’ เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้ เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอด กลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสง สว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหา ประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’ เรานั้นได้รู้ว่า ‘ในสมัยใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเรามีจักษุนิดหน่อย เรานั้นจำแสงสว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย ด้วย จักษุเพียงนิดหน่อย แต่สมัยใด เรามีสมาธิอันหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๘. อุปักกิเลสสูตร

มีจักษุอันหาประมาณมิได้ เรานั้นจำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหา ประมาณมิได้ด้วยจักษุอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’ [๒๔๔] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เรารู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑- รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหาที่ คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๗๓/๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๙. พาลปัณฑิตสูตร

รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ [๒๔๕] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลนั้น เรานั้นได้รู้ว่า ‘เราละ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้นได้แล้ว เอาเถิด บัดนี้ เราจะเจริญสมาธิทั้ง ๓ ประการ’ เรานั้นจึงได้เจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียง วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง ได้ เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยความสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เราเจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เจริญสมาธิที่ มีปีติ เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติ เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยสุข เจริญสมาธิที่สหรคต ด้วยอุเบกขา ในกาลนั้น ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อุปักกิเลสสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๗๖-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6017&Z=6311                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=439&items=28              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=3747              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=439&items=28              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=3747                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i439-e.php# https://suttacentral.net/mn128/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :