ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๖. มหากัมมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่
[๒๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสมิทธิอยู่ในกระท่อมป่า ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรเที่ยวเดินเล่นอยู่ เข้าไปหาท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิว่า “ท่านพระสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมว่า ‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า ‘สมาบัติที่บุคคล เข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้นก็มีอยู่’ ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “ท่านโปตลิบุตร ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า ‘สมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้นก็มีอยู่’ “ท่านพระสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว” “ท่านผู้มีอายุ อาตมภาพบวชได้ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา” “บัดนี้ ในเมื่อภิกษุใหม่ยังคิดปกป้องพระศาสดาถึงเพียงนี้ เราทั้งหลายจะ พูดอะไรกับภิกษุผู้เป็นพระเถระได้เล่า ท่านพระสมิทธิ บุคคลทำกรรมที่ประกอบ ด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจแล้ว จะเสวยผลอะไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

“ท่านโปตลิบุตร บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจแล้ว จะเสวยทุกข์” ลำดับนั้น ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระสมิทธิ ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป [๒๙๙] ครั้งนั้นแล เมื่อปริพาชกชื่อโปตลิบุตรจากไปไม่นาน ท่านพระสมิทธิ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอ เป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร เล่าเรื่องที่ตนได้สนทนาปราศัยกับ ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรทั้งหมดแก่ท่านพระอานนทเถระ เมื่อท่านพระสมิทธิเล่าเรื่องอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวกับท่าน พระสมิทธิว่า “ท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีมูลเหตุพอที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด เราทั้งสอง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ พึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่ พระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด เราทั้งหลายควรทรง จำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น” ท่านพระสมิทธิรับคำแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องที่ ท่านพระสมิทธิได้สนทนาปราศัยกับปริพาชกชื่อโปตลิบุตรทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระ อานนท์ว่า “อานนท์ เราไม่รู้แม้ความเห็นของปริพาชกชื่อโปตลิบุตรเลย จะรู้การ สนทนาปราศัยกันเห็นปานนี้ได้อย่างไร โมฆบุรุษผู้มีนามว่าสมิทธินี้ได้ตอบปัญหา ที่ควรจำแนกตอบแก่ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรโดยแง่เดียว” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายเอาทุกข์นี้แล้ว อารมณ์อย่างใดอย่าง หนึ่งที่สัตว์เสวยแล้ว อารมณ์นั้นต้องจัดเข้าในทุกข์หรือ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๓๐๐] เมื่อท่านพระอุทายีกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่ง เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของ อุทายีผู้เป็นโมฆบุรุษนี้เถิด เราได้รู้บัดนี้เอง โมฆบุรุษอุทายีนี้เมื่อจะพูด ก็พูดโพล่ง ออกมาโดยไม่แยบคาย เบื้องต้นทีเดียวปริพาชกชื่อโปตลิบุตรถามถึงเวทนา ๓ ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านโปตลิบุตร บุคคลทำ กรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจอันให้ผลเป็นสุข๑- ย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และ ทางใจอันให้ผลเป็นทุกข์๒- ย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความ จงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจอันให้ผลเป็นอทุกขมสุข๓- ย่อมเสวยผลเป็น อทุกขมสุข อานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าตอบโดยชอบแก่ปริพาชกชื่อ โปตลิบุตร แต่ว่าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด จะเข้าใจ มหากัมมวิภังค์ของตถาคตได้อย่างไรเล่า ถ้าตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ เธอ ทั้งหลายควรฟัง” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์ ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” @เชิงอรรถ : @ ให้ผลเป็นสุข หมายความว่ากรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา คือกรรมชื่อว่าให้ผลเป็น @สุข เพราะเกิดสุขเวทนาในปฏิสนธิกาลและปวัตตกาลอย่างนี้คือ เจตนา ๔ ดวงที่ประกอบด้วย @โสมนัสสหคตจิตฝ่ายกามาวจรกุศล และเจตนาในฌาน ๓ ข้างต้น (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน) @(ม.อุ.อ. ๓/๓๐๐/๑๘๖) @ ให้ผลเป็นทุกข์ หมายความว่า อกุศลเจตนาชื่อว่าให้ผลเป็นทุกข์ เพราะทำให้ทุกข์เท่านั้นเกิดใน @ปฏิสนธิกาลและปวัตตกาลนั้นเอง (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๐/๑๘๖) @ ให้ผลเป็นอทุกขมสุข หมายความว่า กรรมชื่อว่าให้ผลเป็นอทุกขมสุข เพราะเกิดเวทนาที่ ๓ (อุเบกขา- @เวทนา) ในปฏิสนธิกาลและปวัตตกาลอย่างนี้ คือ เจตนา ๔ ดวงที่ประกอบด้วยอุเบกขาสหคตจิต @ฝ่ายกามาวจรกุศล และเจตนาในฌานที่ ๔ ฝ่ายรูปาวจรกุศล (ม.อุ.อ. ๓/๓๐๐/๑๘๖-๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรื่องนี้ว่า “อานนท์ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็น ผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็น มิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่เพ็งเล็งอยากได้ สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๓๐๑] อานนท์ ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจาก ตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยตาทิพย์ อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี ข้าพเจ้าได้ เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดมักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้น ทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๒. ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่อง เผากิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิต ตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วไม่มี วิบากของ ทุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดมัก ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลัง จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชน เหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ ผิด’ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มี จิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมดีมีจริง วิบากของสุจริตมีจริง ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็น สัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดเว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ชน เหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ๔. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ มนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคล โน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ [๓๐๒] อานนท์ ๑. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราคล้อยตามวาทะ ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี’ เราคล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ แต่เราไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตาม แม้วาทะของเขาที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น ๒. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราไม่คล้อยตามวาทะ ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี’ เราคล้อยตามวาทะของเขา ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์’ แต่เราไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดมักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในสุคติโลกสรรค์’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอก เหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา ที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น ๓. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เราคล้อยตามวาทะ ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี’ เราคล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว อย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง จากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เราไม่คล้อยตามวาทะ ของเขา ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใด เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็น สัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอก เหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา ที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น ๔. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เราไม่คล้อยตาม วาทะของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ ยินว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี’ เราคล้อยตามวาทะของ เขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากการ ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ แต่เรา ไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

บุคคลใดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชน เหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตาม แม้วาทะของเขาที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบ เอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น [๓๐๓] อานนท์ ๑. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลนั้นหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะบาปกรรมที่เขาทำไว้ในชาติก่อน ให้ ผลเป็นทุกข์ บาปกรรมที่เขาทำไว้ในภายหลังให้ผลเป็นทุกข์ หรือ ในเวลาจะตาย เขามีมิจฉาทิฏฐิที่ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่ บุคคลเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อๆ ไปบ้าง ๒. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ บุคคลนั้นหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ในชาติก่อนให้ผลเป็นสุข กรรมดีที่เขาทำ ไว้ในภายหลังให้ผลเป็นสุข หรือในเวลาจะตาย เขามีสัมมาทิฏฐิที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่บุคคลเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อๆ ไปบ้าง ๓. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง จากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลนั้นหลังจากตาย แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ในชาติก่อน ให้ผลเป็นสุข กรรมดีที่เขาทำไว้ในภายหลังให้ผลเป็นสุข หรือใน เวลาจะตาย เขามีสัมมาทิฏฐิที่ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่ บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ เขาเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้ บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อๆ ไปบ้าง ๔. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง จากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลนั้น หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ บาปกรรมที่เขาทำไว้ในชาติก่อนให้ผลเป็นทุกข์ บาปกรรมที่เขาทำ ไว้ในภายหลังให้ผลเป็นทุกข์ หรือในเวลาจะตาย มีมิจฉาทิฏฐิที่เขา ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ เขาย่อม เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อๆ ไปบ้าง อานนท์ กรรมที่ไม่ควร ส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มีอยู่ กรรมที่ไม่ควร ส่องให้ เห็นว่าควรก็มีอยู่ กรรมที่ควร ส่องให้เห็นว่าควรก็มีอยู่ และกรรมที่ควร ส่องให้ เห็นว่าไม่ควรก็มีอยู่ ดังพรรณนามาฉะนี้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหากัมมวิภังคสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕๗-๓๖๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=598              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=598&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=4706              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=598&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=4706                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i598-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i598-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.136.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.136.nymo.html https://suttacentral.net/mn136/en/sujato https://suttacentral.net/mn136/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :