ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๖. ชฏาสูตร
ว่าด้วยชฏาพราหมณ์
[๑๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นรชนผู้มีปัญญาเห็นภัยในสังสารวัฏ ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๗๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๗. สุทธิกสูตร

มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้ บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคลเหล่านั้น สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี รูปสัญญาก็ดี ดับไม่เหลือในที่ใด ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระ ผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ” อนึ่ง ท่านพระชฏาภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย
ชฏาสูตรที่ ๖ จบ
๗. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยสุทธิกภารทวาชพราหมณ์
[๑๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สุทธิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พราหมณ์บางคนในโลกแม้เป็นผู้มีศีล บำเพ็ญตบะอยู่ ก็ยังหมดจดไม่ได้ พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเท่านั้น จึงจะหมดจดได้ ส่วนหมู่สัตว์อื่นนอกจากนี้จะหมดจดไม่ได้เลย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๓ หน้า ๒๖-๒๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๗๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๗๑-๒๗๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=192              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5332&Z=5353                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=644              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=644&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5676              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=644&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5676                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i626-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.006.than.html https://suttacentral.net/sn7.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :