ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๑๑. สังครวสูตร

๑๑. สังครวสูตร
ว่าด้วยสังครวพราหมณ์
[๒๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความบริสุทธิ์ ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็น และเวลาเช้าเป็นประจำ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับมาจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังครว- พราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความ บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ ข้าพระองค์ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จเข้าไปหา สังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ โดยดุษณีภาพ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า ไปหาสังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี พระภาคตรัสถามสังครวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เขาพูดกันว่า ท่านได้ชื่อว่าถือ ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ท่านถือการลงอาบน้ำชำระ ร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ จริงหรือ” สังครวพราหมณ์กราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๑๑. สังครวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงได้ ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำเล่า” สังครวพราหมณ์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บาปกรรมใดที่ ข้าพระองค์ทำเวลากลางวัน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการอาบน้ำเวลาเย็น บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำเวลากลางคืน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการ อาบน้ำเวลาเช้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้ ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลายนั่นแล อาบในห้วงน้ำคือธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีตัวไม่เปียก ย่อมข้ามถึงฝั่ง๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังครวพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต”
สังครวสูตรที่ ๑๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ฝั่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๙๕/๒๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=207              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5913&Z=5956                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=719              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=719&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6576              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=719&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6576                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i671-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.021.wlsh.html https://suttacentral.net/sn7.21/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :