ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๒๑๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม กระผมถูกกามราคะแผดเผา จิตของกระผมเร่าร้อน ดังกระผมจะขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ช่วยบอกเหตุที่ดับราคะให้ด้วย ท่านพระอานนท์กล่าวว่า จิตของท่านเร่าร้อน เพราะความสำคัญผิด ท่านจงละทิ้งนิมิตว่างาม ซึ่งประกอบด้วยราคะ @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๒๘-๑๒๓๑/๕๓๙-๕๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๕. สุภาสิตสูตร

ท่านจงดูสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรผัน โดยความเป็นทุกข์ และอย่าดูโดยความเป็นอัตตา จงดับราคะแรงกล้า อย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อยๆ เลย ท่านจงอบรมจิต ให้มีอารมณ์เดียว ให้ตั้งมั่นดี ด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่งาม จงอบรมกายคตาสติ และจงเป็นผู้เบื่อหน่ายให้มาก ท่านจงอบรมความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัย จากนั้น ท่านจักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป เพราะละมานะได้๑-
อานันทสูตรที่ ๔ จบ
๕. สุภาสิตสูตร
ว่าด้วยวาจาสุภาษิต
[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มี โทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. กล่าวแต่วาจาสุภาษิตอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาทุพภาษิต ๒. กล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๓๒-๑๒๓๕/๕๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=212              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6082&Z=6103                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=735              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=735&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6673              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=735&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6673                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn08/sn08.004.than.html https://suttacentral.net/sn8.4/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :