ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๔. ทฬิททสูตร

๔. ทฬิททสูตร
ว่าด้วยผู้ขัดสน
[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็น คนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้ แต่เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในธรรมวินัยที่เราประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลก- สวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรองค์นั้นรุ่งเรืองกว่าเทพ เหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากัน กล่าวโทษ ติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เทพบุตรองค์นี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นคนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของ เทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ” ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ‘ท่านผู้ นิรทุกข์ ท่านทั้งหลายอย่ากล่าวโทษต่อเทพบุตรนี้เลย เทพบุตรนี้ เมื่อครั้งยังเป็น มนุษย์ในกาลก่อน ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในธรรมวินัยที่พระ ตถาคตประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหาย ของเทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๘๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๕. รามเณยยกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อทรงยินดีกับพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ๑- และสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๒- บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส๓- และการเห็นธรรม๔-”
ทฬิททสูตรที่ ๔ จบ
๕. รามเณยยกสูตร
ว่าด้วยสถานที่น่ารื่นรมย์
[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “สถานที่เช่นไรหนอเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์” @เชิงอรรถ : @ ศีลที่พระอริยะชอบใจ หมายถึงศีลที่ประกอบด้วยมรรคและผล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ มีความเห็นตรง หมายถึงเห็นว่าพระขีณาสพไม่มีความคดทางกายเป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ ความเลื่อมใส หมายถึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @ การเห็นธรรม หมายถึงเห็นสัจธรรม ๔ ประการ (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๘๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๘๐-๓๘๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=260              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=7464&Z=7497                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=916              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=916&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8549              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=916&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8549                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i905-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn11.14/en/sujato https://suttacentral.net/sn11.14/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :