ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๑๐. เอณิชังฆสูตร
ว่าด้วยพระผู้มีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย
[๓๐] เทวดากล่าวว่า พวกข้าพระองค์พากันมาเฝ้า ขอทูลถามพระองค์ ผู้มีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย มีพระวรกายสมส่วน มีความเพียร ฉันพระกระยาหารน้อย ไม่มีความโลเล เป็นเหมือนราชสีห์และช้างเที่ยวไปตามลำพัง ไม่มีความห่วงในกามทั้งหลาย ว่า บุคคลหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร @เชิงอรรถ : @ ชะเนาะ หมายถึงความผูกโกรธ (สํ.ส.อ. ๑/๒๙/๕๓) @ เชือกหนัง หมายถึงกิเลสมีทิฏฐิและวิจิกิจฉาเป็นต้น (สํ.ส.อ. ๑/๒๙/๕๓) @ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๐๙ หน้า ๑๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๓. สัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามคุณ๑- ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิตประกาศไว้ชัดแล้วในโลก บุคคลละความพอใจในนามรูป๒- นี้ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
เอณิชังฆสูตรที่ ๑๐ จบ
สัตติวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัตติสูตร ๒. ผุสติสูตร ๓. ชฏาสูตร ๔. มโนนิวารณสูตร ๕. อรหันตสูตร ๖. ปัชโชตสูตร ๗. สรสูตร ๘. มหัทธนสูตร ๙. จตุจักกสูตร ๑๐. เอณิชังฆสูตร @เชิงอรรถ : @ กามคุณ หมายถึงกาม (สิ่งที่ทำให้เกิดความใคร่) (ที.สี.อ. ๑/๕๔๖/๓๓๕) ฉะนั้น กามคุณจึงหมายถึงสิ่งที่ @ผูกพันสัตว์ไว้คือกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ @ นามรูป ในที่นี้หมายถึงนาม คือใจ และรูป คือกามคุณ ๕ (สํ.ส.อ. ๑/๓๐/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๓-๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=466&Z=479                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=76              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=76&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1397              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=76&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1397                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i056-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn1.30/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.30/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :