ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๖. นชีรติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ทรุดโทรม
[๗๖] เทวดาทูลถามว่า อะไรเล่าย่อมทรุดโทรม อะไรเล่าย่อมไม่ทรุดโทรม อะไรเล่าท่านเรียกว่าทางผิด @เชิงอรรถ : @ ตรัสบอกทางไว้แล้วด้วยเหตุหลากหลาย หมายถึงตรัสบอกทางไว้แล้วด้วยเหตุเป็นอันมาก ได้แก่ @อารมณ์ ๓๘ ประการ (อารมณ์ ๓๘ มาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ (เว้นอาโลกกสิณ @และอากาสกสิณ) อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ ธาตุววัตถาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ @อานาปานสติ ๑ จึงรวมเป็น ๓๘) (สํ.ส.อ. ๑/๗๕/๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๘๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๘. ฆัตวาวรรค ๗. อิสสรสูตร

อะไรเล่าเป็นอันตรายต่อธรรม อะไรเล่าสิ้นไปตามคืนและวัน อะไรเล่าเป็นมลทินของพรหมจรรย์ อะไรเล่ามิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง ในโลกมีช่องกี่ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม ชื่อและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม ราคะท่านเรียกว่าทางผิด ความโลภเป็นอันตรายต่อธรรม วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ข้องอยู่ในหญิงนั่น ตบะและพรหมจรรย์นั้นมิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้ คือ ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่ขยัน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑ พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เสีย โดยประการทั้งปวงเถิด
นชีรติสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๘๒-๘๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=76              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1309&Z=1326                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=209              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=209&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2531              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=209&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2531                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i198-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn1.76/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.76/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :