ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. จันทนสูตร
ว่าด้วยจันทนเทพบุตร
[๙๖] จันทนเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน จะข้ามโอฆะได้อย่างไร ใครไม่จมในห้วงน้ำลึกซึ่งไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญา มีจิตตั้งมั่นดี ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจตลอดกาลทุกเมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๐๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๖. วาสุทัตตสูตร

ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา๑- ล่วงรูปสังโยชน์ได้๒- มีความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลินสิ้นแล้ว ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก
จันทนสูตรที่ ๕ จบ
๖. วาสุทัตตสูตร
ว่าด้วยวาสุทัตตเทพบุตร
[๙๗] วาสุทัตตเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก ของพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละกามราคะ เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละสักกายทิฏฐิ เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น๓-
วาสุทัตตสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ กามสัญญา หมายถึงอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ (สํ.ส.อ. ๙๖-๙๗/๑๐๖) @ รูปสังโยชน์ หมายถึงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ (สํ.ส.อ. ๙๖-๙๗/๑๐๖) @ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๑ หน้า ๒๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๐๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1663&Z=1674                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=260              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=260&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2780              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=260&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2780                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i251-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn2.15/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :