ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. อุปัสสยสูตร
ว่าด้วยพระมหากัสสปะแสดงธรรมในสำนักภิกษุณี
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่าน พระมหากัสสปะดังนี้ว่า “มาเถิดท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง” “ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๐. อุปัสสยสูตร

“ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง” ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน พระอานนท์ติดตาม เข้าไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่งแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่เขา จัดไว้ ลำดับนั้นภิกษุณีจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ กราบท่าน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหากัสสปะได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจ ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้วจึงลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า ‘เพราะเหตุไรเล่า พระคุณเจ้ามหากัสสปะจึงสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้า พระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็มสำคัญว่า ควรขาย เข็มในสำนักของช่างเข็ม(ผู้ชำนาญ) ฉันใด พระคุณเจ้ามหากัสสปะย่อมสำคัญธรรม ที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง ฉันนั้นเหมือนกัน’ ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณีชื่อถุลลติสสากำลังกล่าววาจานี้ จึงได้กล่าว กับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ เราเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านเป็นช่างเข็ม หรือ เราเป็นช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม” “ขอประทานโทษท่านกัสสปะผู้เจริญ ชื่อว่ามาตุคามเป็นคนเขลา” “หยุดเถิดท่านอานนท์ หมู่ของท่านอย่าด่วนสรุปเกินไปนัก ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกาม และจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิด จากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้อานนท์ก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอ ต้องการ” “มิใช่อย่างนั้น ขอรับ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๐. อุปัสสยสูตร

“ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการ’
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้]๑-
ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบันเช่นกัน” “ไม่ใช่อย่างนั้น ขอรับ” “ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะ ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน ท่านผู้มีอายุ ผู้ใดสำคัญผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควร สำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่งว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล” ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว
อุปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดในฌานาภิญญสูตร ข้อ ๑๕๒ หน้า ๒๕๐-๒๕๓ ในเล่มนี้ และดูเทียบกับ @ที.สี. (แปล) ๙/๒๒๖-๒๔๘/๗๕-๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๕๓-๒๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=148              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=5660&Z=5720                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=512              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=512&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4380              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=512&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4380                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn16.10/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.10/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :