ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๒. อาหารวรรค ๙. พาลปัณฑิตสูตร

๙. พาลปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย กายของคนพาลนี้ ผู้ถูกอวิชชาขวางกั้น ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายและนามรูปภายนอกนี้๑- มีอยู่ทั้ง ๒ ส่วนอย่างนี้ เพราะ อาศัยส่วนทั้ง ๒ นั้น ผัสสะจึงมี คนพาลถูกผัสสายตนะ ๖ หรืออายตนะอย่างใด อย่างหนึ่งกระทบเข้า จึงเสวยสุขและทุกข์ กายของบัณฑิตนี้ ผู้ถูกอวิชชาขวางกั้น ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ กายและนามรูปภายนอกนี้ มีอยู่ทั้ง ๒ ส่วนอย่างนี้ เพราะอาศัยส่วน ทั้ง ๒ นั้น ผัสสะจึงมี บัณฑิตถูกผัสสายตนะ ๖ หรืออายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบเข้า จึงเสวยสุขและทุกข์ ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างบัณฑิตกับคนพาล “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส เฉพาะ พระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้” “ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ นามรูปภายนอก ในที่นี้หมายถึงกายของชนเหล่าอื่น (สํ.นิ.อ. ๒/๑๙/๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๒. อาหารวรรค ๙. พาลปัณฑิตสูตร

“กายของคนพาลนี้ ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นแหละคนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นก็ยังไม่สิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น เมื่อตายไป คนพาลจึงเข้าถึงกาย๑- เมื่อยังมีการเข้าถึงกาย เขาจึงไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราจึงกล่าวว่า ‘เขาไม่พ้น จากทุกข์” กายของบัณฑิต๒- นี้ ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นแหละบัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั้นก็หมดสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตจึงไม่เข้าถึงกาย เมื่อไม่เข้าถึงกาย เขาจึงพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราจึงกล่าวว่า ‘เขาพ้นจากทุกข์’ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความแปลกกัน นี้เป็นความแตกต่างกัน นี้เป็นเหตุทำให้ ต่างกัน ระหว่างบัณฑิตกับคนพาล กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
พาลปัณฑิตสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ เข้าถึงกาย ในที่นี้หมายถึงการถือปฏิสนธิในกายอื่น (สํ.นิ.อ. ๒/๑๙/๔๕) @ บัณฑิต ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (สํ.นิ.อ. ๒/๑๙/๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๒-๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=557&Z=589                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=57              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=57&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=978              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=57&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=978                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i028-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.019.than.html https://suttacentral.net/sn12.19/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.19/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :