ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๖. สัมมสสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพิจารณาปัจจัยภายในกันบ้างหรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมพิจารณาปัจจัยภายใน” “เธอพิจารณาปัจจัยภายในอย่างไร” ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นก็ได้ทูลเล่าถวายให้ทรงทราบ (แต่)ไม่เป็นที่พอพระทัย ของพระผู้มีพระภาค เมื่อเธอกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระ ผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่จะทรงแสดง เรื่องนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายได้ฟังปัจจัยภายในที่พระองค์ตรัสไว้แล้วก็จักทรงจำไว้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

“อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัย ภายในว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ชราและ มรณะที่เป็นทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น แดนเกิด เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิด ขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้ มีอุปธิ๑- เป็นเหตุ มีอุปธิเป็นเหตุเกิด มีอุปธิเป็น กำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด เมื่ออุปธิมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออุปธิไม่มี ชราและ มรณะจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความ ดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับแห่งชราและมรณะโดยชอบทุกประการ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในว่า ‘อุปธินี้มี อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘อุปธิมีตัณหา เป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อ ตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดอุปธิ รู้ชัดความเกิด แห่งอุปธิ รู้ชัดความดับแห่งอุปธิ และรู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับ แห่งอุปธิ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียก ภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับแห่งอุปธิโดยชอบทุกประการ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในว่า ‘ตัณหานี้ เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน’ เธอพิจารณาอยู่จึงรู้ อย่างนี้ว่า ‘รูปที่เป็นปิยรูป๒- เป็นสาตรูป๓- ใดมีอยู่ในโลก ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นย่อม เกิดขึ้นในรูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในรูปนั้น ก็อะไรเล่าเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก @เชิงอรรถ : @ อุปธิ คือกิเลสที่ทำให้ติดอยู่ในวัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ ของสัตว์ (สํ.นิ.อ. ๒/๖๖/๑๓๕) @ ปิยรูป คือรูปที่น่ารัก น่าปรารถนา (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๕๕/๒๒๑, สํ.นิ.อ. ๒/๖๖/๑๓๕) @ สาตรูป คือรูปที่น่ายินดี น่าต้องการ (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๕๕/๒๒๑, สํ.นิ.อ. ๒/๖๖/๑๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

คือ จักขุเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ฯลฯ โสตะเป็นปิยรูป เป็นสาตรูป ในโลก ... ฆานะเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ... ชิวหาเป็นปิยรูป เป็นสาตรูป ในโลก ... กายเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ... มโนเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้นในมโนนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในมโนนั้น’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป ในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหาให้ เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้น จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำอุปธิให้เจริญ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำ ทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าจักไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหา ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ เปรียบเหมือนขันสำริดใส่สุราสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่นและรส แต่ขันใบนั้นเจือยาพิษ ขณะนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา คนทั้งหลาย จึงพูดกับเขาว่า ‘พ่อหนุ่ม ขันสำริดใส่สุราใบนี้ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่นและรสมีไว้สำหรับ ท่าน แต่ว่ามันเจือยาพิษ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะเมื่อดื่ม สุรานั้นก็จักซึมซาบ ด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มแล้ว ท่านจะตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น’ บุรุษนั้นไม่ทันพิจารณาขันน้ำสำริดนั้น ก็รีบดื่มจนหมด เขาพึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูปในโลก ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอนาคต ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหา ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

ไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักละตัณหาได้ ฯลฯ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักพ้นจากทุกข์ไปได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดชื่อว่า ละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้ เปรียบเหมือนขันสำริดใส่สุราสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ขันใบนั้นเจือ ยาพิษ ขณะนั้นมีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา คนทั้งหลายจึงพูดกับเขาว่า ‘พ่อหนุ่ม ขันสำริดใส่สุราใบนี้ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรสมีไว้สำหรับท่าน แต่ว่ามันเจือยาพิษ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะเมื่อ ดื่มสุรานั้นก็จักซึมซาบด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มแล้ว ท่านจะตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น’ ลำดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดว่า ‘ความกระหาย สุรานี้ เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยน้ำดื่ม ฟองน้ำส้ม น้ำข้าวผสมเกลือหรือน้ำยาดอง แต่เราจะไม่ดื่มสุราที่ให้ประโยชน์สุขแก่เรามาช้านานนั้นเลย’ เขาพิจารณาขันสำริด นั้นแล้ว ก็ไม่ดื่ม เททิ้งไป เขาจึงไม่ตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ ทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น พ้นจากทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ ตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้”
สัมมสสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๒๙-๑๓๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=62              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=2855&Z=3005                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=254              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=254&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3020              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=254&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3020                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i230-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn12.66/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.66/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :