ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑. สมุทยธัมมสูตร

๓. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
[๑๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดรูปที่ มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็น จริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม ไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑. สมุทยธัมมสูตร

เป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุ นี้เราเรียกว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ ในอวิชชา” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุ เพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ รู้ชัด รูปที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา’ รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดเวทนาที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดสังขารที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดาว่า ‘สังขารมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๒. ทุติยสมุทยธัมมสูตร

เป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุ นี้เราเรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=126              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3831&Z=3862                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=320              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=320&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8047              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=320&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8047                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i320-e.php# https://suttacentral.net/sn22.126/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :