ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๓. ปีติสูตร
ว่าด้วยตติยฌานที่มีปีติ
[๓๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร” @เชิงอรรถ : @ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น (เจตโส เอโกทิภาวํ) คำว่า “เอโกทิ” เป็นชื่อของสมาธิ ทุติยฌานชื่อว่า @เอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เกิดเจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีภาวะที่จิตเป็น @หนึ่งผุดขึ้น” เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้มีแก่จิต ไม่มีแก่สัตว์ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔) @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๓๓/๓๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต]

๔. อุเปกขาสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะปีติจางคลายไป วันนี้ ผมมี อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายอยู่ เข้าตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข‘๑- ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้า ตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว หรือออกจากตติยฌานแล้ว” อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้ นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว หรือออกจากตติยฌานแล้ว”
ปีติสูตรที่ ๓ จบ
๔. อุเปกขาสูตร
ว่าด้วยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
[๓๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว วันนี้ ผมเข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่๒- ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้า จตุตถฌานแล้ว หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว” อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้ นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้าจตุตถฌานแล้ว หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”
อุเปกขาสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๓๔/๓๕๑-๓๕๒ @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๓๕/๓๕๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๓๔๓-๓๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=267              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=6001&Z=6010                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=510              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=510&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=510&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i508-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn28.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :