ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๒. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา
[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่ให้ถึงสักกาย- สมุทัย (เหตุเกิดแห่งสักกายะ๑-) และปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับแห่ง สักกายะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ พิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ @เชิงอรรถ : @ สักกายะ ในที่นี้หมายถึงอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ (สํ.ข.อ. ๒/๗๘/๓๑๖, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๓/๓๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๓. อนิจจสูตร

นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา เห็นที่ให้ถึงทุกขสมุทัย’ นี้เป็นใจความในข้อนี้ ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ เป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่ พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา เห็นที่ให้ถึงทุกขนิโรธ’ นี้เป็นใจความในข้อนี้”
ปฏิปทาสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๖๑-๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=981&Z=1006                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=89              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=89&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6497              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=89&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6497                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i087-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn22.44/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.44/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :