ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑. อุปยสูตร

มัชฌิมปัณณาสก์
๑. อุปยวรรค
หมวดว่าด้วยความเข้าถึง
๑. อุปยสูตร
ว่าด้วยความเข้าถึง
[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง๑- ไม่ใช่ความหลุดพ้น ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร’ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ... ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ... ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ... @เชิงอรรถ : @ ความเข้าถึง ในที่นี้หมายถึงเข้าถึงขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ (สํ.ข.อ. ๒/๕๓/๒๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๒. พีชสูตร

ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม ไม่ปรุงแต่ง๑- หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ เพราะ สันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป”
อุปยสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๗๕-๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=53              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1200&Z=1219                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=105              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=105&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6569              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=105&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6569                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i105-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.053.than.html https://suttacentral.net/sn22.53/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.53/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :