ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร

๘. มหาลิสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหาลิ
[๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต กรุงเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านปูรณะ กัสสปะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมอง ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมอง เอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มี ปัจจัย บริสุทธิ์เอง’ ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาลิ ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย เศร้าหมองอย่างไร” “มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความ ทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะรูป เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในรูป เพราะกำหนัดจึงถูกรูปผูกไว้ เพราะถูกรูปผูกไว้จึง เศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้ หากเวทนานี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในเวทนา แต่เพราะเวทนา เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร

สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในเวทนา เพราะกำหนัดจึงถูกเวทนาผูกไว้ เพราะถูกเวทนา ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้ หากสัญญานี้ ฯลฯ หากสังขารนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะสังขาร เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร เพราะกำหนัดจึงถูกสังขารผูกไว้ เพราะถูกสังขาร ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้ หากวิญญาณนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่เพราะ วิญญาณเป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ เพราะกำหนัดจึงถูกวิญญาณผูกไว้ เพราะ ถูกวิญญาณผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็น อย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยบริสุทธิ์อย่างไร” “มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะรูป เป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร

หากเวทนานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ หากสัญญานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ หากสังขารนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ หากวิญญาณนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะ วิญญาณเป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้”
มหาลิสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๙๗-๙๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=60              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1536&Z=1576                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=131              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=131&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6739              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=131&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6739                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i105-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.060.than.html https://suttacentral.net/sn22.60/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.60/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :