ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๗. เขมกสูตร
ว่าด้วยพระเขมกะ
[๘๙] สมัยหนึ่ง พระเถระจำนวนมากอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระเขมกะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก พักอยู่ที่พทริการาม ครั้นในเวลาเย็น พระเถระทั้งหลายออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เรียกท่านพระ ทาสกะมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้ว บอกว่า ‘ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านว่า ‘เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ เป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการ กำเริบไม่ปรากฏหรือ'’ ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘ท่าน เขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านว่า ‘เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ” ท่านพระเขมกะตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ” ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้วเรียนว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวว่า ‘ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกข- เวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ ปรากฏ” “มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๕๕/๒๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไรๆ ในอุปาทาน- ขันธ์ ๕ ประการนี้” ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไรๆ ในอุปาทาน- ขันธ์ ๕ ประการนี้’ “ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เลย” ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้วเรียนว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เลย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

“มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ทราบว่า หากท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา อะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เลย ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันต- ขีณาสพ” ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้แล้ว ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ทราบว่า หากท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา อะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เลย ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันต- ขีณาสพ” “ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ใน อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้” ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้วเรียนว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไรๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เลย และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ใน อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

“มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจาก วิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร” ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘ท่าน เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจาก วิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร” “พอทีเถิด ท่านทาสกะ การเดินไปเดินมาบ่อยๆ นี้จะมีประโยชน์อะไร ท่านจงหยิบไม้เท้ามา ผมจักเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายเอง” ลำดับนั้น ท่านพระเขมกะยันไม้เท้าเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระเถระทั้งหลายได้ถามว่า “ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร” “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีรูป’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามี นอกจากรูป’ ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลิ่นดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอก บุณฑริกก็ดี ผู้ที่กล่าวว่า ‘กลิ่นของใบ’ ว่า ‘กลิ่นของสี’ หรือว่า ‘กลิ่นของเกสร’ อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ” “ไม่ถูกต้อง ท่านผู้มีอายุ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบอย่างไร” “ท่านผู้มีอายุ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า ‘กลิ่นของดอก” “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีรูป’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามี นอกจากรูป’ ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการพระอริยสาวกละได้แล้วก็ จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อยู่ ถึงแม้ท่านจะยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยก็ถูกเพิกถอนขึ้นได้ ผ้าสกปรกเปื้อนมลทิน เจ้าของผ้ามอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักผ้า ช่างซักผ้าขยี้ ผ้านั้นในน้ำด่างเกลือ น้ำด่างขี้เถ้า หรือในโคมัยแล้ว ซักในน้ำสะอาด ผ้านั้น สะอาดก็จริง แต่ผ้านั้นก็ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น โคมัยที่ติดอยู่ ช่างซักผ้ามอบผ้านั้นคืนให้เจ้าของไป เจ้าของเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบ อบด้วยกลิ่น แม้ผ้านั้นจะยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น โคมัยที่ติดอยู่ แต่กลิ่นนั้นก็หายไป แม้ฉันใด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน- ขันธ์ ๕ ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๘. ฉันนสูตร

แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง วิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อยู่ ถึงแม้ท่านจะยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัย อย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยก็ถูกเพิกถอนขึ้นได้” เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวว่า “พวกผม ไม่ได้ถามมุ่งเบียดเบียนท่านเลย แต่ท่านเขมกะสามารถบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นโดยพิสดาร ตามที่ท่านบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายแล้วโดยพิสดาร” ท่านพระเขมกะได้กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายมีใจยินดี ต่างชื่นชม ภาษิตของท่านเขมกะ ก็เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ พระเถระประมาณ ๖๐ รูปและของท่านพระเขมกะ ก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ ถือมั่น
เขมกสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๖๖-๑๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=89              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=2858&Z=2962                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=225              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=225&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7610              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=225&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7610                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i193-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.089.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.089x.wlsh.html https://suttacentral.net/sn22.89/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.89/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :