ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๒. ปุปผสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดอกไม้
[๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ขัดแย้งกับโลก แต่โลกขัดแย้งกับเรา ผู้กล่าวเป็นธรรมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้ เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ‘ไม่มี’ สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ‘มี’ ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี เราก็กล่าวว่า ‘ไม่มี‘ คือ รูปที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวรูปนั้นว่า ‘ไม่มี’ เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าววิญญาณนั้นว่า ‘ไม่มี’ นี้แลชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่มี’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๒. ปุปผสูตร

อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี เราก็กล่าวว่า ‘มี‘ คือ รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็ กล่าวรูปนั้นว่า ‘มี’ เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็ กล่าววิญญาณนั้นว่า ‘มี’ นี้แลชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวว่า ‘มี’ โลกธรรม๑- มีอยู่ในโลก ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งโลกธรรมนั้นแล้ว จึงบอก๒- แสดง๓- บัญญัติ๔- กำหนด๕- เปิดเผย๖- จำแนก๗- ทำให้ง่าย๘- ก็อะไรเล่าชื่อว่าโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งแล้ว จึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย คือ รูปจัดเป็นโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ ฯลฯ ทำให้ง่าย บุคคลใด เมื่อตถาคตบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายอยู่อย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่เห็น เราจะทำอะไรกับบุคคลผู้โง่เขลา เป็นปุถุชน คนบอด ไม่มีดวงตา ไม่รู้ ไม่เห็นนั้นได้ @เชิงอรรถ : @ โลกธรรม ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ ประการ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) @(สํ.ข.อ. ๒/๙๔/๓๔๘) @ บอก หมายถึงกล่าวคำเริ่มต้น แสดงคำเริ่มต้น (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ แสดง หมายถึงการให้อุทเทส (คำเริ่มต้น) จบลง (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ บัญญัติ หมายถึงประกาศให้รู้ถึงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้โดยประการต่างๆ ตามที่ยกแสดงไว้ @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ กำหนด หมายถึงการให้เนื้อความนั้นดำเนินไปโดยประการต่างๆ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ เปิดเผย หมายถึงการชี้แจงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้ โดยการวกกลับมาอธิบายซ้ำอีก @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๗๕) @ จำแนก หมายถึงการจำแนกประเด็นที่เปิดแล้ว (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ ทำให้ง่าย หมายถึงการแสดงประเด็นที่จำแนกไว้ให้ชัดเจนด้วยการชี้เหตุและยกอุทาหรณ์ต่างๆ มาประกอบ @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๓. เผณปิณฑูปมสูตร

เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณจัดเป็นโลกธรรมในโลกที่ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งแล้ว จึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย บุคคลใด เมื่อตถาคตบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายอยู่อย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่เห็น เราจะทำอะไรกับบุคคลผู้โง่เขลา เป็นปุถุชน คนบอด ไม่มีดวงตา ไม่รู้ ไม่เห็นนั้นได้ ภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำแล้วตั้งอยู่ แต่ไม่ติดน้ำ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลก เจริญในโลก ครอบงำโลกอยู่ แต่ไม่ติดโลก”
ปุปผสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๗๘-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=94              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3100&Z=3131                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=239              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=239&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7703              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=239&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7703                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i237-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn22.94/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.94/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :