ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร
ว่าด้วยสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร
[๑๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็น สัทธิวิหาริกบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้ว” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ย่อม เป็นอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้เลย๑- ที่ภิกษุนั้นไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ จักสืบ ต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต เป็นไปได้๒- ที่ภิกษุนั้นคุ้มครอง ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่เนืองๆ จักสืบต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต @เชิงอรรถ : @ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ (เหตุ) และปฏิเสธโอกาส (ปัจจัย) ที่เป็นไปได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ เป็นไปได้ หมายถึงยอมรับฐานะ (เหตุ) ที่เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร

ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๑- ไม่แยกถือ๒- ปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุ) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูก ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความ ทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ (อินทรีย์คือมโน) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้ แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษและการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา’ ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ รวบถือ หมายถึงมองภาพรวมเห็นเป็นหญิงเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย @สัมผัสที่อ่อนนุ่มเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ. ๑/๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ แยกถือ หมายถึงมองภาพแยกแยะเป็นส่วนๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่าสวยหรือไม่สวย @เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้าย แลขวา ว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่า @รักก็เกิดอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารักก็เกิดอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่ @น่าปรารถนา) (อภิ.สงฺ.อ. ๑/๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น ตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์ โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอด มัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารใน อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นผู้ประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่เนืองๆ’ ผู้มีอายุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๔๑-๑๔๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=100              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=2653&Z=2696                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=183              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=183&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=897              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=183&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=897                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i165-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.120.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.120/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.120/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :