ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๘. อาทิตตปริยายสูตร
ว่าด้วยอาทิตตบรรยาย
[๒๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตบรรยายและธรรมบรรยายแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร

อาทิตตบรรยายและธรรมบรรยาย เป็นอย่างไร คือ บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กที่ร้อน ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะ๑- ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่ประเสริฐ เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น จะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทะลวงโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีใน อนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไป ได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดี ในอนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่ประเสริฐ เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น จะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะ หมายถึงการแยกถือว่ามืองามเท้างามเป็นต้น (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๓๕/๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกายินทรีย์ด้วยหอกที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายไม่ ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีใน อนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไป ได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เราเห็นโทษนี้จึงกล่าวอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังประเสริฐกว่า แต่เรากล่าวว่าความหลับเป็น หมันสำหรับผู้มีชีวิต กล่าวว่าไร้ผลสำหรับผู้มีชีวิต กล่าวว่าเป็นความเขลาสำหรับ ผู้มีชีวิต ส่วนบุคคลตกอยู่ในอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย เราเห็นโทษนี้แลว่าเป็นหมันสำหรับผู้มีชีวิต จึงกล่าวอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมเห็นดังนี้ว่า จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กที่ร้อน ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยก ไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’ โสตินทรีย์ที่บุคคลทะลวงด้วยขอเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘โสตะไม่เที่ยง สัททะไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’ ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยก ไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘ฆานะไม่เที่ยง คันธะไม่เที่ยง ฆานวิญญาณ ไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’ ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๙. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร

ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’ กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’ ความหลับยกไว้ก่อน ฯลฯ เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘มโนไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก ต่อไป’ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคืออาทิตตบรรยายและธรรมบรรยายฉะนี้แล”
อาทิตตปริยายสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓๐-๒๓๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=181              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=4669&Z=4738                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=303              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=303&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1274              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=303&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1274                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn35.235/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.235/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :