ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๗. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยทุกขธรรม
[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม๑- ทั้งปวงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเธอย่อมเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย อำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง ทั้งตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่โดยอาการที่เมื่อประพฤติอยู่ ธรรม ที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร คือ รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯลฯ อย่างนี้สังขาร ฯลฯ อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงเป็น อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ทุกขธรรม หมายถึงขันธ์ ๕ ที่เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๔/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความ ใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความ เร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง เป็นอย่างไร คือ หลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าช่วงบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน ขณะนั้นมีบุรุษคนหนึ่งอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์เดินมา มี บุรุษ ๒ คนที่แข็งแรงจับแขนเขาคนละข้าง ลากเข้าหาหลุมถ่านเพลิง เขาโอนเอน กายไปข้างโน้นข้างนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า ‘เราตกหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะตกหลุมถ่านเพลิงนั้น’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นกามซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง โดยอาการที่เมื่อเห็น กามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความ สยบด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่ นอนเนื่อง ภิกษุตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่ โดยอาการที่เมื่อ ประพฤติอยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ เป็น อย่างไร คือ บุรุษเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าของเขาก็มีหนาม ข้างหลังก็มี หนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม เขามีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ ด้วยคิดว่า ‘หนามอย่าแทงเรา’ แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวรูปที่น่ารัก น่ายินดีในโลกว่าเป็นหนามในอริยวินัย ภิกษุ รู้อย่างนี้แล้วพึงรู้จักความไม่สำรวมและความสำรวม ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทาง ใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตาม ความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแก่เธอ ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล ความสำรวม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็น ผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตาม ความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้น แล้วแก่เธอ ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอยู่อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมสติในกาลบางครั้งบางคราว สติ เกิดขึ้นช้า ขณะนั้นเธอย่อมละ บรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลนั้น ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกพลันทีเดียว บุรุษพึงให้หยาดน้ำ ๒-๓ หยดตกลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน หยาด น้ำตกลงช้า ขณะนั้นหยาดน้ำพึงระเหย เหือดแห้งไปอย่างรวดเร็ว แม้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอยู่อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี ความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น เพราะความหลงลืมสติในกาลบาง ครั้งบางคราว สติเกิดขึ้นช้า ขณะนั้นเธอย่อมละ บรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลนั้น ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกพลันทีเดียว ภิกษุตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่ โดยอาการที่เมื่อประพฤติ อยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร๑- อำมาตย์๒- ญาติ๓- สาโลหิต๔- ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วย โภคทรัพย์ทั้งหลายว่า “มาเถิด พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้ ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาที่ไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก หลากไปทางทิศตะวันออก ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามาด้วยตั้งใจ ว่า ‘พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป ข้างหลัง’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นพึง ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทาง ทิศตะวันออก หลากไปทางทิศตะวันออก หมู่มหาชนจะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหล ไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลัง ไม่ใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมี ส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน” @เชิงอรรถ : @ มิตร หมายถึงคนรู้จักกัน เพราะการใช้ของในเรือนร่วมกัน เช่น ให้ของแก่กันและกัน หรือรับของจากกัน @(สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙) @ อำมาตย์ หมายถึงผู้ร่วมงานกัน ทำประโยชน์ร่วมกัน เช่นปรึกษาหารือกัน ไปมาด้วยกันเป็นต้น @(สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙) @ ญาติ หมายถึงผู้เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงาน ได้แก่ บิดามารดาของสามี และเครือญาติฝ่ายบิดา @มารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยา และเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา @(สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙, ๒/๗๖/๒๒๗) @ สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน เช่นพี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว ลุง ป้า เป็นต้น @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗) หรือญาติฝ่ายมารดา (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๗๖/๒๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงปวารณา ภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายว่า ‘มาเถิด พระ คุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคน หัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย โภคทรัพย์และทำบุญเถิด ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตนั้นที่ น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้วจักเวียนมาเพื่อ เป็นคฤหัสถ์”
ทุกขธัมมสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๕๑-๒๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=190              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=5092&Z=5188                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=332              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=332&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=2473              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=332&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=2473                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.203x.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.244/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.244/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :