ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

๔. ชาติธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีชาติธัมมสูตรเป็นต้น
[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี (สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา คือ จักขุมีความเกิดเป็นธรรมดา รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีความเกิดเป็น ธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา กาย ฯลฯ มโนมีความเกิดเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนวิญญาณ มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ เกิดเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ... แม้ในรูป ฯลฯ แม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ แม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
สูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

[๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๒ จบ
[๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๓ จบ
[๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๔ จบ
[๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๕ จบ
[๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๖ จบ
[๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๗ จบ
[๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๘ จบ
[๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๙ จบ
[๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา คือ จักขุมีความดับไปเป็นธรรมดา รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุวิญญาณ มีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ ดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

ชิวหามีความดับไปเป็นธรรมดา รสมีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาวิญญาณ มีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มโนมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความดับไปเป็นธรรมดา มโน- วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
ชาติธัมมวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ชาติธัมมสูตร ๒. ชราธัมมสูตร ๓. พยาธิธัมมสูตร ๔. มรณธัมมสูตร ๕. โสกธัมมสูตร ๖. สังกิเลสิกธัมมสูตร ๗. ขยธัมมสูตร ๘. วยธัมมสูตร ๙. สมุทยธัมมสูตร ๑๐. นิโรธธัมมสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๘-๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=534&Z=581                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=36              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=36&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=274              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=36&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=274                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i036-e.php# https://suttacentral.net/sn35.33-42/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.33-42/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :