ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑. อวิชชาวรรค ๑. อวิชชาปหานสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. อวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา
[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอวิชชา๒- ได้ วิชชา๓- จึงจะเกิดขึ้น” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นรูปโดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นจักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนโดยความไม่เที่ยงจึงจะละ อวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น”
อวิชชาปหานสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษ ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป @(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) @ อวิชชา หมายถึงความไม่รู้อริยสัจ ๔ (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ และมรรค) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔) @ วิชชา หมายถึงความรู้แจ้งอรหัตตมรรค (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=633&Z=647                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=56              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=56&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=293              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=56&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=293                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i056-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-053.html https://suttacentral.net/sn35.53/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.53/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :