ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๔. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[๑๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ คิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ๑- ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕ ประการที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย’ @เชิงอรรถ : @ กามคุณ หมายถึงกาม (สิ่งที่ทำให้เกิดความใคร่) และคุณ (เครื่องผูกพันหรือพันธนาการ) @(ที.สี.อ. ๑/๕๔๖/๓๓๕) ฉะนั้นกามคุณจึงหมายถึงสิ่งที่ผูกพันสัตว์ไว้ คือกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วง ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เราผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความ ไม่ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต’ เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว จิตของเธอทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕ ประการที่เป็นปัจจุบันมากหรือที่เป็นอนาคตน้อย เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เธอทั้งหลายผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความไม่ ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา (ความหมายรู้ในรูป) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา (ความหมายรู้ในรส) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะ ว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา (ความหมายรู้ในธรรมารมณ์) ก็ดับในที่นั้น” พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษา กันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้” ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษา กันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้ว เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด” ท่านพระอานน์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความ หนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ พระดำรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ตรัสหมายถึงความดับอายตนะ ๖ ประการ ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูป- สัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลายทรงแสดง อุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

รู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา ก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน อานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม เนื้อความนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
กามคุณสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๔-๑๓๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=97              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=2503&Z=2598                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=173              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=173&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=870              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=173&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=870                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i165-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn35.117/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.117/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :