ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๒. วิหารวรรค ๒. ทุติยวิหารสูตร

๒. ทุติยวิหารสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม สูตรที่ ๒
[๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นตลอด ๓ เดือน ใครๆ อย่าเข้าไป หาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้จึงไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปทูลถวายรูปเดียว ครั้น ๓ เดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วนแห่ง วิหารธรรม รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี ฯลฯ เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะมิจฉาสมาธิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะสัมมาสมาธิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะวิตกเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะวิตกเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

๒. วิหารวรรค ๔. ปฐมอุปปาทสูตร

เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี ความพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ มีอยู่ แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ ฐานะนั้นเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”
ทุติยวิหารสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๗-๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=276&Z=292                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=49              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=49&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4238              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=49&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4238                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/19i047-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn45.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn45.12/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :