ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๑. เวฬุทวารวรรค ๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่พระตำหนักอิฐ สูตรที่ ๓
[๑๐๐๖] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุฏอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร กฬิภอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ฯลฯ นิกตอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ฯลฯ กฏิสสหอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... ตุฏฐอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... สันตุฏฐอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... ภัทท- อุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... สุภัททอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ กกุฏอุบาสกถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดเป็น โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก กฬิภอุบาสก ฯลฯ นิกตอุบาสก ... กฏิสสหอุบาสก ... ตุฏฐอุบาสก ... สันตุฏฐอุบาสก ... สุภัททอุบาสก ... ภัททอุบาสกถึงแก่กรรมแล้ว ไปเกิดเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก (อุบาสกทุกคนพึงทำให้มีคติอย่างเดียวกัน) อานนท์ อุบาสกกว่า ๕๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดเป็น โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้นไม่ หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกกว่า ๙๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว ได้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางได้ กลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ อุบาสกกว่า ๕๐๐-๖๐๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้วได้เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า อานนท์ ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วตายไป หากเมื่อบุคคล นั้นตายไป เธอทั้งหลายจักเข้ามาสอบถามเรื่องนี้กับเรา ก็จะพึงเป็นความลำบากแก่ ตถาคต เพราะเหตุนั้น เราจักแสดงธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส(แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๐๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๑. เวฬุทวารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน ข้างหน้า’ ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึง พยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิ แห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อานนท์ นี้แล คือ ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐ จบ
เวฬุทวารวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักกวัตติราชสูตร ๒. พรหมจริโยคธสูตร ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร ๔. ปฐมสารีปุตตสูตร ๕. ทุติยสารีปุตตสูตร ๖. ถปติสูตร ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร ๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร ๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร ๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๐๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๐๘-๕๐๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=328              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=8587&Z=8631                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1476              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1476&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7913              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1476&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7913                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.10/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :