ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๕. ทุติยเทวปทสูตร
ว่าด้วยเทวบท สูตรที่ ๒
[๑๐๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้ว เทวบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ อริยสาวกนั้นพิจารณาดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเทวบท ของเทพทั้งหลาย’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ยินในบัดนี้ว่า เทพทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง เราก็มิได้ เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เราเป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมคือเทวบทอยู่แน่แท้ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๖. เทวสภาคสูตร

ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความ ผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๑ ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ สมาธิ อริยสาวกนั้นพิจารณาดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเทวบท ของเทพทั้งหลาย’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ยินในบัดนี้ว่า เทพทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง เราก็มิได้ เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เราเป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมคือ เทวบทอยู่แน่แท้’ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อ ความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๔ ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่ผ่องแผ้ว”
ทุติยเทวปทสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๕๑-๕๕๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=353              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9364&Z=9384                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1588              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1588&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1588&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.35/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :