ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๒. กายสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกาย
[๑๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้
อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น คือ สุภนิมิต๑- มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น @เชิงอรรถ : @ สุภนิมิต หมายถึงสิ่งที่งดงามหรืออารมณ์ที่เกิดจากสิ่งที่งดงาม (สํ.ม.อ. ๓/๑๘๓/๒๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น คือ ปฏิฆนิมิต๑- มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะ ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา อาหาร และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้น ให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้น แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น คือ ความไม่สงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบจิต นั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุทธัจจ- กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่ เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบ คายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น @เชิงอรรถ : @ ปฏิฆนิมิต หมายถึงปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ) หรืออารมณ์ที่เกิดจากความกระทบกระทั่งในใจ @(สํ.ม.อ. ๓/๑๘๓/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้
อาหารของโพชฌงค์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจย- สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปีติ- สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้ เกิดขึ้น หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ คือ สมถนิมิต๑- อัพยัคคนิมิต๒- มีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่ เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้”
กายสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ สมถนิมิต หมายถึงความสงบหรืออารมณ์ที่เกิดจากความสงบ (สํ.ม.อ. ๓/๑๘๓/๒๐๘) @ อัพยัคคนิมิต (นิมิตแห่งจิตที่มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) เป็นไวพจน์ของสมถนิมิต (สํ.ม.อ. ๓/๑๘๓/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๑๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๑๐-๑๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=75              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=2163&Z=2228                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=357              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=357&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4462              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=357&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4462                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.2/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.2/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :