ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท นิทานวัตถุ

๗. สัปปาณกวรรค
๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท
ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๓๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ต้อง อาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ๑- จึงบอกภิกษุสัทธิวิหาริกผู้เป็นพี่น้องกันว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ท่านโปรดอย่าบอกใครๆ” ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งก็ต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ได้ขอสงฆ์อยู่ปริวาสเพื่อ(จะออก จาก)อาบัตินั้น สงฆ์ได้ให้ปริวาสเพื่อ(ออกจาก)อาบัตินั้นแก่ภิกษุนั้น ภิกษุผู้กำลัง อยู่ปริวาสนั้นพบภิกษุนั้นจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกา สุกกวิสัฏฐิ จึงได้ขอสงฆ์อยู่ปริวาส สงฆ์ได้ให้ผมอยู่ปริวาสเพื่อ(ออกจาก)อาบัติแล้ว ผมกำลังอยู่ปริวาส ขอบอกให้ทราบ ท่านจงจำผมไว้ว่า ‘บอกให้ทราบแล้ว” ภิกษุนั้นถามว่า “ภิกษุอื่นผู้ต้องอาบัตินี้ก็ต้องทำอย่างนี้หรือ” ภิกษุผู้อยู่ปริวาสตอบว่า “ใช่ ต้องทำอย่างนี้” ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกา สุกกวิสัฏฐิ ได้บอกผมว่า ‘ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ท่านโปรด อย่าบอกใครๆ” ภิกษุผู้อยู่ปริวาสถามว่า “ท่านปกปิดอาบัติไว้หรือ” ภิกษุนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ” ภิกษุผู้อยู่ปริวาสจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ” แปลว่า มีความจงใจ มีเจตนาทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นชื่อสังฆาทิเสส @สิกขาบทที่ ๑ (ดู พระวินัยปิฎแปล เล่ม ๑ ข้อ ๒๓๔ หน้า ๒๔๙-๒๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๐๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุรู้อยู่ จึงปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุผู้ ปกปิดอาบัตินั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุผู้ปกปิดอาบัตินั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอรู้อยู่ ยังปกปิดอาบัติชั่ว หยาบของภิกษุจริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ จึงปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๓๙๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคทรง ประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุผู้ต้องอาบัติ ชั่วหยาบนั้นบอก ที่ชื่อว่า อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท และอาบัติ สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท คำว่า ปกปิด ความว่า เมื่อภิกษุคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายรู้แล้วจะโจท จะตักเตือน จะขู่ จะบังคับ จะทำให้เก้อเขิน เราจะไม่บอก” พอทอดธุระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๔๐๐] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ปกปิดไว้ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ ปกปิดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ปกปิดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุปกปิดอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุปกปิดความประพฤติชั่วหยาบหรือไม่ชั่วหยาบของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ปกปิดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. สัปปาณกวรรค ๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๐๑] ๑. ภิกษุคิดว่า “สงฆ์จะบาดหมาง จะทะเลาะ จะขัดแย้ง หรือจะ วิวาทกัน” จึงไม่บอก ๒. ภิกษุคิดว่า “สงฆ์จะแตกแยก หรือจะร้าวราน” จึงไม่บอก ๓. ภิกษุคิดว่า “ผู้นี้กักขฬะ หยาบคาย จะทำอันตรายแก่ชีวิตหรือ อันตรายแก่พรหมจรรย์” จึงไม่บอก ๔. ภิกษุไม่พบภิกษุเหล่าอื่นที่สมควรจึงไม่ได้บอก ๕. ภิกษุไม่ต้องการจะปกปิด แต่ยังไม่ได้บอก ๖. ภิกษุคิดว่า “เขาจักปรากฏด้วยกรรมของตนเอง” จึงไม่บอก ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๐๙-๕๑๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=100              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=12725&Z=12785                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=644              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=644&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9702              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=644&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9702                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc64/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc64/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :