ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๕. มัญจปีฐสิกขาบท นิทานวัตถุ

๙. รตนวรรค
๕. มัญจปีฐสิกขาบท
ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนอน บนเตียงสูง คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกตามเสนาสนะพร้อมภิกษุหลายรูป ผ่านไปทางที่อยู่ของท่านอุปนันทศากบุตร ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา แต่ไกล ครั้นเห็นแล้วได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอเชิญเสด็จทอด พระเนตรเตียงนอนของข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า” ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้เสด็จกลับจากที่นั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงรู้จักโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่างๆ แล้วตรัสโทษแห่งความ เป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๒๒] ก็ ภิกษุผู้จะทำเตียงหรือตั่งใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว โดย นิ้วสุคต๑- นับแต่แม่แคร่ลงมา ทำให้เกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่าเฉทนกะ๒-
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
@เชิงอรรถ : @ ๑ นิ้วสุคต เท่ากับ ๓ นิ้วของคนปานกลางในบัดนี้ (สุคตงฺคลํ นาม อิทานิ มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส ตีณิ @องฺคุลานิ -กงฺขา.ฏีกา ๒๙๗) @ คำว่า “เฉทนกะ” เป็นชื่อเฉพาะของอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการตัดออก คือต้องตัดวัตถุก่อน @จึงแสดงอาบัติตก (วิ.อ. ๒/๕๒๒/๔๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๐๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๕. มัญจปีฐสิกขาบท บทภาชนีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๓] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงการทำขึ้นมา(ใหม่) ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา๑- (๒) เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่ ที่ชื่อว่า ตั่ง มี ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมีแม่แคร่ ติดอยู่กับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่ คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้คนอื่นให้ทำ คำว่า พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว โดยนิ้วสุคต นับแต่แม่แคร่ลงมา คือ เว้น ระยะใต้แม่แคร่ลงมาภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๒๔] ภิกษุทำเตียงหรือตั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุทำเตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา เท่ากับภาษาอังกฤษว่า “Long one - เตียงยาว” เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา @คือ “One with slats - เตียงแผ่นไม้ระแนง” เตียงมีขาดังก้ามปู “One with curved legs - เตียงมีขาโค้ง” @เตียงมีขาจดแม่แคร่ คือ “One with removable legs - เตียงมีขาถอดได้” (ดู The Book of the Discipline, @VoL. III, P. 91, PTS.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๐๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๙. รตนวรรค ๕. มัญจปีฐสิกขาบท อนาปัตติวาร

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้เตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๒๕] ๑. ภิกษุทำเตียงตั่งได้ขนาด ๒. ภิกษุทำเตียงตั่งต่ำกว่าขนาด ๓. ภิกษุได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดให้ได้ขนาดก่อนแล้วใช้ ๔. ภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
มัญจปีฐสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๑๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๐๘-๖๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=123              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=14480&Z=14522                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=755              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=755&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10239              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=755&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10239                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc87/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc87/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :