ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๓. ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันในที่ที่ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน
เรื่องตระกูลหนึ่ง
[๕๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี ตระกูลหนึ่งทั้ง ๒ ฝ่าย๑- มีความเลื่อมใส เจริญด้วยศรัทธา แต่ขาดแคลนทรัพย์ พวกเขาสละของเคี้ยว ของบริโภคทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตระกูลนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลายจนบางครั้งถึงกับไม่ ได้กินอาหาร คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงรับภัตตาหารโดยไม่รู้จักประมาณเล่า คนเหล่านี้ถวายแก่พระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรเหล่านี้จนบางครั้งตนเองถึงกับไม่ได้กินอาหาร” พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา แต่ขาดแคลนทรัพย์ให้เป็นตระกูลเสขะ ด้วยญัตติทุติยกรรม ภิกษุทั้งหลายพึง ให้เสขสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ทั้ง ๒ ฝ่าย” คือทั้งอุบาสกและอุบาสิกาเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นโสดาบัน @(วิ.อ. ๒/๕๖๒/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๓. ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระบัญญัติ

กรรมวาจาให้เสขสมมติ
[๕๖๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธา แต่ ขาดแคลนทรัพย์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธา แต่ขาดแคลน ทรัพย์ สงฆ์ให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้เสขสมมติแก่ ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง เสขสมมติสงฆ์ให้แก่ตระกูลนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ ถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น ด้วยมือตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผม ต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอ แสดงคืนธรรมนั้น” สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องตระกูลหนึ่ง จบ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๖๔] สมัยนั้น มีมหรสพในกรุงสาวัตถี คนทั้งหลายนิมนต์ภิกษุไปฉัน แม้ ตระกูลนั้นก็ได้นิมนต์ภิกษุเช่นกัน ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรง จึงไม่รับนิมนต์ด้วย คิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น เสขะด้วยมือของตนแล้วฉัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๓. ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

คนเหล่านั้นจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไป ทำไม เพราะพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่รับนิมนต์พวกเรา” พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลาย “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ทายกนิมนต์แล้วรับของเคี้ยว หรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน รับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่ ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น ด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดง คืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น” สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระประจำตระกูลของตระกูลนั้น ครั้นเวลา เช้า เธอครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบน อาสนะที่เขาจัดถวาย ทีนั้น ภิกษุนั้นเป็นไข้ พวกชาวบ้านได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้น ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่านฉันเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๓. ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ครั้งนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุที่ทายก ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อนรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้สมมติเป็นเสขะ” จึงไม่รับ ภิกษุ นั้นไม่สามารถหาบิณฑบาตฉันได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ครั้นไปวัดจึงบอก เรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวหรือ ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๕๖๖] อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือ ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้นด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๗] คำว่า ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ความว่า ตระกูลที่ชื่อว่าอัน สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ได้แก่ ตระกูลมีศรัทธาแต่ขาดแคลนทรัพย์ สงฆ์ย่อมให้สมมติ ตระกูลเช่นนี้เป็นเสขะด้วยญัตติทุติยกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๓. ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น คือ ในตระกูลที่ได้รับ สมมติเป็นเสขะเช่นนี้ ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือ ภิกษุที่เขาไม่ได้นิมนต์เพื่อฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่เขานิมนต์เมื่อภิกษุเดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไปแล้ว นี้ชื่อว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ ภิกษุที่เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ คือเขา นิมนต์ขณะที่ภิกษุยังไม่ได้เดินผ่านอุปจารเข้าไป นี้ชื่อว่าได้รับนิมนต์ไว้ ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุที่สามารถไปบิณฑบาตได้ ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับไว้ด้วยคิดว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๖๘] ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ เป็นเสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้ว เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับ ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๓. ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร

ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น เสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ
ภิกษุรับของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ เป็นเสขะ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติ เป็นเสขะ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๖๙] ๑. ภิกษุรับนิมนต์ไว้ ๒. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๓. ภิกษุฉันของเป็นเดนของภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้หรือของภิกษุผู้เป็นไข้ ๔. ภิกษุฉันอาหารที่เขาจัดไว้เพื่อภิกษุอื่นๆ ๕. ภิกษุฉันอาหารที่เขานำจากเรือนไปถวาย ๖. ภิกษุฉันนิตยภัต ๗. ภิกษุฉันสลากภัต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์]

๓. ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร

๘. ภิกษุฉันปักขิกภัต๑- ๙. ภิกษุฉันอุโบสถิกภัต๒- ๑๐. ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต๓- ๑๑. ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก หรือยาวชีวิก ที่เขาถวายบอกว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นก็นิมนต์ฉันเถิด ๑๒. ภิกษุวิกลจริต ๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปักขิกภัต คืออาหารที่เขาถวาย ๑๕ วันครั้งหนึ่ง @ อุโบสถิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือวันพระนั้นเอง @ ปาฏิปทิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันขึ้น-แรม ๑ ค่ำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๓๕-๖๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=132              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=14927&Z=15052                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=788              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=788&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10326              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=788&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10326                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd3/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pd3/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :